Psychedelic Pointer 2

วันศุกร์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2558

Diary No. 11 Tuesday, October 27, 2558.

วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
(science experiences Management for Early childhood)
อาจารย์ผู้สอน  อ. จินตนา  สุขสำราญ
วัน-เดือน-ปี 27-10-2558
เรียนครั้งที่  11  เวลาเรียน 13.30.- 17.30 น.


Story of subject (เนื้อหาที่สอน)

กิจกรรมที่ 1 อาจารย์ให้กระดาษมาแบ่งกันและให้พับ ตัดเป็นรูปดอกไม้แบบไหนก็ได้พร้อมระบายสี จากนั้นให้พับกลีบดอกไม้เข้าหากัน และนำดอกไม้วางในน้ำ จะเห็นได้ว่ากลีบของดอกไม้จะค่อยๆบานออก เร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับขนาดของดอกไม้และการพับกระดาษ เนื่องจากน้ำเข้าไปแทนที่กระดาษ กลีบดอกไม้จึงบานออก ดอกไม้ขนาดเล็กจะบานเร็วกว่าขนาดใหม่เพราะมีพื้นที่น้อยน้ำจึงดูดซึมได้เร็วและดีกว่า



กิจกรรมที่ 2 อาจารย์ให้ขวดน้ำที่เจาะรูไว้สามรูและให้เทน้ำลงไปในขวด จากนั้นอาจารย์ให้นักศึกษาทายว่าน้ำจะออกจากรูไหนได้ไกลที่สุด  จากผลการทดลองคือ รูล่างน้ำไหลไกลที่สุดเพราะมีแรงดันมากกว่ารูอื่นๆ ส่วนรูบนน้ำไหลได้น้อยที่สุด


กิจกรรมที่ 3 อาจารย์ใช้ขวดน้ำและอุปกรณ์ที่มีสายยางอยู่ข้างในดินน้ำมันที่ทำเป็นรูปภูเขา จากนั้นเทน้ำใส่ขวดจนเต็ม ระหว่างเทน้ำ น้ำจะไหลผ่านสายยางและพุ่งออกเป็นน้ำพุ โดยมีแรงดันจึงทำให้เกิดน้ำพุถ้าเราไปปิดปากขวดน้ำก็จไม่ไหลหรือไหลอ่อนลง น้ำที่ขึ้นสูงก็ต้องตกลงสู้ที่ต่ำเสมอ



กิจกรรมที่ 4 อาจารย์ให้หลอดกับเชือกไหมพรม โดยให้สอดเชือกใส่เข้าไปในหลอดแล้วมัดเชือกไว้ จากนั้นจึงเป่าหลอดแรงๆ ทำให้ไหมพรมที่อยู่ในหลอดเคลื่อนที่ลอยตัวออกจากหลอด


กิจกรรมที่ 5 อาจารย์ให้กระดาษพร้อมกับคลิปเสียบกระดาษและให้พับตัดครึ่งแนวยาว ทำเสร็จแล้วก็นำไปโยนขึ้นบนฟ้า จากนำกระดาษก็จะลอยลงมาช้าๆ คล้ายกกับลูกยาง


กิจกรรมที่ 6 จุดเทียนที่มีน้ำอยู่รอบๆ หลังจากนั้นนำแก้วมาครอบเทียน จะเห็นว่าไฟดูดน้ำเข้ามาในแก้วทั้งหมด พอน้ำเข้ามาแทนที่อากาศ เทียนก็จะดับลง


กิจกรรมที่ 7 อาจารย์นำกระจกมาต่อกันสองแผ่นและรูปนำมาวางไว้ จะเห็นว่าจะมีรูปภาพรอบ360องศา เพราะกระจกเกิดการสะท้อนแสง


Know lead (ความรู้ที่ได้รับ)

Skill (ทักษะที่ได้รับ)

Adoption( การนำไปใช้)

Classroom atmosphere (บรรยากาศในห้องเรียน)
  •  เพื่อนๆตั้งใจฟังคุณครูสอน
Self-Assessment (ประเมินตนเอง)
  •  ตั้งใจเรียนที่อาจารย์สอน
Friend-Assessment (ประเมินเพื่อน)
  •  เพื่อนๆทุกคนให้ความร่วมมือดี

Teacher-Assessment (ประเมินครู)
  •  อาจารย์อธิบายรายละเอียดและงานนำเสนอที่นักศึกษาเตรียมมาอย่างละเอียด

วันเสาร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2558

Diary No. 10 Tuesday, October 20, 2558.

วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
(science experiences Management for Early childhood)
อาจารย์ผู้สอน  อ. จินตนา  สุขสำราญ
วัน-เดือน-ปี 20-10-2558
เรียนครั้งที่  10  เวลาเรียน 13.30.- 17.30 น.


Story of subject (เนื้อหาที่สอน)

นำเสนอบทความ
  • เลขที่ 11 เรื่องทำอาหาร กิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะทางวิทยาศาสตร์
  • เลขที่ 12 เรื่อง เรียนรู้ อยู่รอด
นำเสนอของเล่น การทดลอง และของเล่นตามมุมของแต่ละกลุ่ม
  • เรื่องบ้าน(home)
  • เรื่องร่างกาย(body)
  • เรื่องยานพาหนะ(vehicles)
  • เรื่องผีเสื้อ(butterfly)

หน่วยธรรมชาติรอบตัวเด็ก
เรื่อง ผีเสื้อแสนสวย



ของเล่นที่เด็กประดิษฐ์ได้เอง
ผีเสื้อโยกเยก




วัสดุอุปกรณ์

  1. กระดาษสีขาว   
  2. ไม้เสียบลูกชิ้น
  3. ฟิวเจอบอร์ด
  4. กรรไกร
  5. ปากกาเคมี , ดินสอ, ดินสอสี
  6. กาวสองหน้า
  7. ดินน้ำมัน


วิธีทำ

1. วาดรูปผีเสื้อลงบนกระดาษสีขาว


2. ตัดรูปผีเสื้อตามรอยที่วาดและตกแต่งให้สวยงาม


3. วาดรูปดอกไม้ลงบนฟิวเจอบอร์ด สองรูป


4. ตัดรูปดอกไม้ทั้งสองรูปตามรอยที่วาด


5. ตกแต่งรูปดอกไม้ทั้งสองรูปที่วาดไว้


6. นำไม้เสียบลูกชิ้นเสียบดอกไม้ไว้ข้างบน หนึ่งดอกและตรงกลางหนึ่งดอก


7. นำไม้เสียบลูกชิ้นมาเสียบด้านข้างของดอกไม้ตรงกลางทั้งสองด้าน


8. แบ่งดินน้ำมันเป็นสองก้อนไม่ต้องใหญ่มากน้ำหนักเท่าๆกันนำดินน้ำมันมาเสียบกับไม้ลูกชิ้นทั้งด้านซ้ายและขวา 




9. นำผีเสื้อที่ตกแต่งมาติดที่โยกเยก

วิธีการเล่น

ตั้งโยกเยก ไว้ตรงส่วนใดของร่างกายก็ได้



หลักการทางวิทยาศาสตร์

  • แล้วจุดศูนย์ถ่วงคืออะไร?
  • จุดศูนย์ถ่วง คือจุดที่เหมือนตำแหน่งที่รวมของน้ำหนักของวัตถุทั้งก้อน 
  • หากเราสังเกตวัตถุต่าง ๆ ที่เป็นของแข็งและมีรูปทรง การวางวัตถุบนพื้นระนาบจะมีลักษณะสมดุลย์ได้ขึ้นอยู่กับตำแหน่งและแนวของจุดศูนย์ถ่วง  


ของเล่นเข้ามุม 
เงากับผีเสื้อ



วัสดุอุปกรณ์
  1. กล่องลัง
  2. กระดาษแข็ง
  3. กระดาษสี
  4. กาวสองหน้า
  5. ไม้เสียบลูกชิ้น
  6. ปากกาเคมี
  7. กรรไกร
  8. ไฟฉาย

วิธีทำ

1. นำกล่องลังมาตัดด้านข้างออก1ด้านให้เหลือแค่สามด้าน
2. ทำกล่องลังให้เป็นกรอบเหมือนโรงละครตามที่เราต้องการ



3. นำกระดาษสีมาห่อกล่องลังให้สวยงาม



4. 
นำกระดาษแข็งมาตัดให้เท่ากับขนาดของกลางกล่อง



5. วาดรูป ผีเสื้อ   ทุ่งหญ้า  หรือองค์ประกอบ อื่นๆ ที่ต้องการ


6. นำรูปผีเสื้อมาติดกับไม้เสียบลูกชิ้น 


7. นำทุ่งหญ้า ผีเสื้อ ก้อนเมฆมาติด บริเวณที่ต้องการ


8. ทำที่เก็บไฟฉาย





วิธีการเล่น
  • นำไฟฉายส่องตรงตัวผีเสื้อ  ก็จะเกิดเป็นเงา


หลักการทางวิทยาศาสตร์
  • เงาคืออะไร ?   เงา (ภาษาอังกฤษคือ Shadow)  คือ อาณาเขตหลังวัตถุที่แสงฉายไปกระทบวัตถุนั้น ไม่สามารถเดินทางไปถึงได้หรือเดินทางไปถึงเพียงบางส่วน แบ่งออกเป็น 2 ชนิด
  • เงามืด เป็นอาณาเขตหลังวัตถุ แสงกระทบวัตถุแล้ว จะไปไม่ถึงบริเวณนั้นเลย
  • เงามัว เป็นอาณาเขตหลังวัตถุ แสงกระทบวัตถุแล้ว จะไปถึงเพียงบางส่วนที่บริเวณนั้น


การทดลองวิทยาศาสตร์

เรื่องของหวานกับผีเสื้อ




วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลอง
  1. น้ำเชื่อม
  2. น้ำผึ้ง
  3. แก้วพลาสติก
ระยะเวลาในการทดลอง

  • ระยะเวลาในการทดลอง   2   วัน

สมมติฐาน

  • ผีเสื้อกินอาหารที่มีรสหวานคล้ายกับน้ำหวานของดอกไม้จริงหรือไม่

การทดลอง

วันที่ 1 ไม่มีผีเสื้อมากินน้ำเชื่อม กับน้ำผึ้ง มีแต่มดที่มากินน้ำผึ้งกับน้ำเชื่อม


วันที่ 2 ไม่มีผีเสื้อมากินน้ำเชื่อม กับน้ำผึ้ง มีแต่มดที่มากินน้ำผึ้งกับน้ำเชื่อม


สรุปผลการทดลอง

  • จากการทดลองพบว่าผีเสื้อไม่มากินน้ำผึ้ง กับ น้ำเชื่อม ที่เตรียมไว้ มีแต่มดที่มากินน้ำผึ้ง กับ น้ำเชื่อม ที่เตรียมไว้ 
  • ผีเสื้อจะกินน้ำหวานที่ได้มาจากดอกไม้เท่านั้นแต่ผลจากการสังเกตพบว่า  “มีเพียงมดที่มากินน้ำผึ้งแต่ไม่กินน้ำเชื่อม”



Know lead (ความรู้ที่ได้รับ)


  • ได้รับความรู้ทางวิทยศาสตร์จากการนำเสนอเรื่องต่างๆ ที่เด็กจะต้องเรียนรู้ และเข้าใจสิ่งที่ตัวเองได้ค้นคว้าหามาดียิ่งขึ้น

Skill (ทักษะที่ได้รับ)


  • ทักษะการสังเกต
  • ทักษะการคิดวิเคราะห์
  • การค้นคว้า
  • การคาดการณ์
Adoption( การนำไปใช้)


  • นำไปใช้ในการจัดกิจกรรมวิทยศาสตร์ให้กับเด็กๆ

Classroom atmosphere (บรรยากาศในห้องเรียน)


  • สนุกสนาน ตื่นเต้นไปกับสิ่งประดิษฐ์และการทดลองที่เพื่อนๆนำมาเสนอผลงาน

Self-Assessment (ประเมินตนเอง)


  • ตั้งใจเรียนที่อาจารย์สอน 

Friend-Assessment (ประเมินเพื่อน)


  • เพื่อนๆทุกคนให้ความร่วมมือดี

Teacher-Assessment (ประเมินครู)


  • อาจารย์อธิบายรายละเอียดและงานนำเสนอที่นักศึกษาเตรียมมาอย่างละเอียด

วันเสาร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2558

งานวิจัย เรื่อง การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยด้วยการจัดกิจกรรมการทำเครื่องดื่มสมุนไพร (The Development of Basic Science Skills for Young Children Using Herbal Drink Activities)

ผู้วิจัย : นางสาววณิชชา สิทธิพล


มหาวิทยาลัย : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ


ปี พ.ศ. : 2556


ความสำคัญ/ความเป็นมา : 
   การจัดกิจกรรมการทำเครื่องดื่มสมุนไพร ซึ่งเป็นกิจกรรมที่พัฒนาให้เด็กเกิดองค์ความรู้ การคิด การวางแผน การเรียงลำดับขั้นตอน ตลอดจนการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้ามาใช้ในการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ในการสังเกต การสัมผัส การชิม การฟัง การดมกลิ่น การเปลี่ยนแปลงของอาหารตามหลักการทางวิทยาศาสตร์ การจำแนกและการวัด ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้และเข้าใจในการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ จนสามารถนำมาใช้ในการพัฒนาความคิดและการสื่อความหมายข้อมูลได้อย่างสมบรูณ์ต่อไป


วัตถุประสงค์ : 
   1. เพื่อการศึกษาระดับของทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ทั้งโดยรวมและรายด้าน ก่อนและหลังการทดลองการจัดกิจกรรม
   2. เพื่อเปรียบเทียบระดับของทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ทั้งโดยรวมและราย ก่อนและการจัดกิจกรรม


สมมติฐาน :
   เด็กปฐมวัยมีการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สูงขึ้นเมื่อได้รับการจัดกิจกรรมการทำเครื่องดื่มสมุนไพร


ตัวแปร : 
   1. ตัวแปรต้น ได้แก่ การจัดกิจกรรมการทำเครื่องดื่มสมุนไพร
   2. ตัวแปรตาม ได้แก่ ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วย
        2.1 การสังเกต
        2.2 การจำแนก
        2.3 การวัด
        2.4 การสื่อความหมายข้อมูล


ประชากร/กลุ่มตัวอย่าง :
    เด็กปฐมวัย ชาย-หญิง อายุระหว่าง 4-5 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 ของโรงเรียนวัดชำป่างาม (สายรัฐประชาสรรค์) อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2 จำนวน 15 คน จากการสุ่มนักเรียน


ระยะเวลาในการวิจัย :
    ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 เวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละประมาณ 50 นาที รวม 24 ครั้ง ในช่วงกิจกรรมเสริมประสบการณ์



เครื่องมือที่ใช้: 
    1. แผนการจัดกิจกรรมการทำเครื่องดื่มสมุนไพร

    2. แบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


การดำเนินการ : 

    1. ผู้วิจัยสร้างความคุ้นเคยกับกลุ่มตัวอย่างเป็นเวลา 1 สัปดาห์
    2. ผู้วิจัยทำการทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ก่อนการทดลอง (Pretest)         จากนั้นนำมาตรวจให้คะแนนตามเกณฑ์
    3. ผู้วิจัยทำการทดลองการจัดกิจกรรมการทำเครื่องดื่มสมุนไพร ในช่วงกิจกรรมเสริมประสบการณ์

โดยมีกิจกรรมดังนี้




     4. ผู้วิจัยดำเนินการทดลองจนครบ 8 สัปดาห์ จากนั้นทำการทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์            สำหรับเด็กปฐมวัย หลังการทดลอง (Posttest) ซึ่งใช้แบบทดสอบชุดเดียวกันกับที่สอบก่อนการ            ทดลอง จากนั้นนำมาตรวจให้คะแนนตามเกณฑ์

     5. นำข้อมูลที่ได้จากการทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยไปวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการทางสถิติ เพื่อทดสอบสมมติฐาน


สรุปผลวิจัย :  
    การจัดกิจกรรมการทำเครื่องดื่มสมุนไพรระดับทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยในภาพรวมอยู่ในระดับดี 14.33 คะแนน และเมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านการสังเกต 4.13 คะแนน อยู่ในระดับดีมาก ส่วนด้านการจำแนก 3.26 คะแนน ด้านการวัด 3.60 คะแนน และด้านการสื่อความหมายข้อมูล 3.33 คะแนน อยู่ในระดับดี เมื่อเปรียบเทียบระดับทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยทั้งภาพรวมและรายด้านมีค่าสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมการทำเครื่องดื่มสมุนไพรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Diary No. 9 Tuesday, October 13, 2558.

วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
(science experiences Management for Early childhood)
อาจารย์ผู้สอน  อ. จินตนา  สุขสำราญ
วัน-เดือน-ปี 13-10-2558
เรียนครั้งที่  9  เวลาเรียน 13.30.- 17.30 น.



Story of subject (เนื้อหาที่สอน)
  • นําเสนองานวิจัย
    - เลขที่ 5 การจัดกจิกรรมส่งเสรมิทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
    - เลขที่่ 6 การคิดเชิงเหตผุลของเด็กปฐมวัยในการจัดกิจกรรมพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
  • นําเสนอโทรทัศน์ครู
      - เลขที่7 แรงตรึงผิว
      - เลขที่8 สอนเด็กอย่างไรให้มีจิตวิทยาศาสตร์
      - เลขที่9 จดุประกายนักวิทยาศาสตร์
  • นําเสนอของเล่น
    - กลองแขก    เรื่อง เสียง
    - คาหนังสติ๊ก  เรื่อง พลังงาน
    - ปี่กระป๋อง      เรื่อง เสียง
  • เเบ่งกลุ่มเป็น 4 กลุ่มแบ่งตามสาระการเรียนรู้แล้วเลือกเนื้อหาสาระที่่จะสอนเด็ก ที่อยู่ในสาระที่เด็กควรเรียนรู้แล้วทำเป็น Mind Mapping สาระการเรียนรู้ธรรมชาติรอบตัวเด็ก เรื่อง ผีเสื้อ


Know lead (ความรู้ที่ได้รับ)
  • ได้รับความรู้เกี่ยวกับงานของเพื่อนๆที่นำมาเสนอ เพื่อนำมาปรับใช้


Skill (ทักษะที่ได้รับ)
  • ทักษะการสังเกต
  • ทักษะการคิดวิเคราะห์

Adoption( การนำไปใช้)
  • นำของเล่นที่เพื่อนนำเสนอไปประยุกต์ใช้ในการสอนเด็กปฐมวัยในอนาคต
Classroom atmosphere (บรรยากาศในห้องเรียน)
  • ไม่มีเก้าอี้ให้นั่งเรียน ทำให้เขียนหนังสือไม่ถนัด
Self-Assessment (ประเมินตนเอง)
  • ตั้งใจเรียนที่อาจารย์สอน
Friend-Assessment (ประเมินเพื่อน)
  • เพื่อนๆทุกคนให้ความร่วมมือดี
Teacher-Assessment (ประเมินครู)
  • อาจารย์อธิบายรายละเอียดของสิ่งประดิษฐ์และงานนำเสนอที่นักศึกษาเตรียมมาอย่างละเอียด



วันศุกร์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2558

EDUCA 2015 มหกรรมทางการศึกษาเพื่อพัฒนาวิชาชีพครู ครั้งที่ 8

EDUCA 2015 มหกรรมทางการศึกษาเพื่อพัฒนาวิชาชีพครู ครั้งที่ 8

ระหว่างวันที่ 14 - 16 ตุลาคม 2558 
ณ อิมแพคฟอรั่ม (Hall 9) เมืองทองธานี
ภายใต้แนวคิด "
ON SCHOOLING: การจัดการเรียนรู้ในโรงเรียน! "



- ทำไมเด็กๆ เขียนหนังสือไม่สวย?
- ทำไมเด็กๆ จดบันทึกช้า ตกหล่น?
- ทำไมเด็กๆ เขียนตามคำบอกไม่ได้ทั้งๆ ที่สะกดคำปากเปล่าได้?
- ทำไมเด็กๆ อ่านออกเฉพาะตัวพิมพ์ แต่อ่านลายมือเขียนไม่ได้?
- เด็กที่มีปัญหา LD (Learning Disabilities) ซึ่งเป็นปัญหาที่พบมากในเด็กพิเศษหลายๆ กลุ่ม จะมีวิธีในการช่วยพัฒนาเด็กอย่างไร?
ฯลฯ