Psychedelic Pointer 2

วันเสาร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2558

Diary No. 10 Tuesday, October 20, 2558.

วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
(science experiences Management for Early childhood)
อาจารย์ผู้สอน  อ. จินตนา  สุขสำราญ
วัน-เดือน-ปี 20-10-2558
เรียนครั้งที่  10  เวลาเรียน 13.30.- 17.30 น.


Story of subject (เนื้อหาที่สอน)

นำเสนอบทความ
  • เลขที่ 11 เรื่องทำอาหาร กิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะทางวิทยาศาสตร์
  • เลขที่ 12 เรื่อง เรียนรู้ อยู่รอด
นำเสนอของเล่น การทดลอง และของเล่นตามมุมของแต่ละกลุ่ม
  • เรื่องบ้าน(home)
  • เรื่องร่างกาย(body)
  • เรื่องยานพาหนะ(vehicles)
  • เรื่องผีเสื้อ(butterfly)

หน่วยธรรมชาติรอบตัวเด็ก
เรื่อง ผีเสื้อแสนสวย



ของเล่นที่เด็กประดิษฐ์ได้เอง
ผีเสื้อโยกเยก




วัสดุอุปกรณ์

  1. กระดาษสีขาว   
  2. ไม้เสียบลูกชิ้น
  3. ฟิวเจอบอร์ด
  4. กรรไกร
  5. ปากกาเคมี , ดินสอ, ดินสอสี
  6. กาวสองหน้า
  7. ดินน้ำมัน


วิธีทำ

1. วาดรูปผีเสื้อลงบนกระดาษสีขาว


2. ตัดรูปผีเสื้อตามรอยที่วาดและตกแต่งให้สวยงาม


3. วาดรูปดอกไม้ลงบนฟิวเจอบอร์ด สองรูป


4. ตัดรูปดอกไม้ทั้งสองรูปตามรอยที่วาด


5. ตกแต่งรูปดอกไม้ทั้งสองรูปที่วาดไว้


6. นำไม้เสียบลูกชิ้นเสียบดอกไม้ไว้ข้างบน หนึ่งดอกและตรงกลางหนึ่งดอก


7. นำไม้เสียบลูกชิ้นมาเสียบด้านข้างของดอกไม้ตรงกลางทั้งสองด้าน


8. แบ่งดินน้ำมันเป็นสองก้อนไม่ต้องใหญ่มากน้ำหนักเท่าๆกันนำดินน้ำมันมาเสียบกับไม้ลูกชิ้นทั้งด้านซ้ายและขวา 




9. นำผีเสื้อที่ตกแต่งมาติดที่โยกเยก

วิธีการเล่น

ตั้งโยกเยก ไว้ตรงส่วนใดของร่างกายก็ได้



หลักการทางวิทยาศาสตร์

  • แล้วจุดศูนย์ถ่วงคืออะไร?
  • จุดศูนย์ถ่วง คือจุดที่เหมือนตำแหน่งที่รวมของน้ำหนักของวัตถุทั้งก้อน 
  • หากเราสังเกตวัตถุต่าง ๆ ที่เป็นของแข็งและมีรูปทรง การวางวัตถุบนพื้นระนาบจะมีลักษณะสมดุลย์ได้ขึ้นอยู่กับตำแหน่งและแนวของจุดศูนย์ถ่วง  


ของเล่นเข้ามุม 
เงากับผีเสื้อ



วัสดุอุปกรณ์
  1. กล่องลัง
  2. กระดาษแข็ง
  3. กระดาษสี
  4. กาวสองหน้า
  5. ไม้เสียบลูกชิ้น
  6. ปากกาเคมี
  7. กรรไกร
  8. ไฟฉาย

วิธีทำ

1. นำกล่องลังมาตัดด้านข้างออก1ด้านให้เหลือแค่สามด้าน
2. ทำกล่องลังให้เป็นกรอบเหมือนโรงละครตามที่เราต้องการ



3. นำกระดาษสีมาห่อกล่องลังให้สวยงาม



4. 
นำกระดาษแข็งมาตัดให้เท่ากับขนาดของกลางกล่อง



5. วาดรูป ผีเสื้อ   ทุ่งหญ้า  หรือองค์ประกอบ อื่นๆ ที่ต้องการ


6. นำรูปผีเสื้อมาติดกับไม้เสียบลูกชิ้น 


7. นำทุ่งหญ้า ผีเสื้อ ก้อนเมฆมาติด บริเวณที่ต้องการ


8. ทำที่เก็บไฟฉาย





วิธีการเล่น
  • นำไฟฉายส่องตรงตัวผีเสื้อ  ก็จะเกิดเป็นเงา


หลักการทางวิทยาศาสตร์
  • เงาคืออะไร ?   เงา (ภาษาอังกฤษคือ Shadow)  คือ อาณาเขตหลังวัตถุที่แสงฉายไปกระทบวัตถุนั้น ไม่สามารถเดินทางไปถึงได้หรือเดินทางไปถึงเพียงบางส่วน แบ่งออกเป็น 2 ชนิด
  • เงามืด เป็นอาณาเขตหลังวัตถุ แสงกระทบวัตถุแล้ว จะไปไม่ถึงบริเวณนั้นเลย
  • เงามัว เป็นอาณาเขตหลังวัตถุ แสงกระทบวัตถุแล้ว จะไปถึงเพียงบางส่วนที่บริเวณนั้น


การทดลองวิทยาศาสตร์

เรื่องของหวานกับผีเสื้อ




วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลอง
  1. น้ำเชื่อม
  2. น้ำผึ้ง
  3. แก้วพลาสติก
ระยะเวลาในการทดลอง

  • ระยะเวลาในการทดลอง   2   วัน

สมมติฐาน

  • ผีเสื้อกินอาหารที่มีรสหวานคล้ายกับน้ำหวานของดอกไม้จริงหรือไม่

การทดลอง

วันที่ 1 ไม่มีผีเสื้อมากินน้ำเชื่อม กับน้ำผึ้ง มีแต่มดที่มากินน้ำผึ้งกับน้ำเชื่อม


วันที่ 2 ไม่มีผีเสื้อมากินน้ำเชื่อม กับน้ำผึ้ง มีแต่มดที่มากินน้ำผึ้งกับน้ำเชื่อม


สรุปผลการทดลอง

  • จากการทดลองพบว่าผีเสื้อไม่มากินน้ำผึ้ง กับ น้ำเชื่อม ที่เตรียมไว้ มีแต่มดที่มากินน้ำผึ้ง กับ น้ำเชื่อม ที่เตรียมไว้ 
  • ผีเสื้อจะกินน้ำหวานที่ได้มาจากดอกไม้เท่านั้นแต่ผลจากการสังเกตพบว่า  “มีเพียงมดที่มากินน้ำผึ้งแต่ไม่กินน้ำเชื่อม”



Know lead (ความรู้ที่ได้รับ)


  • ได้รับความรู้ทางวิทยศาสตร์จากการนำเสนอเรื่องต่างๆ ที่เด็กจะต้องเรียนรู้ และเข้าใจสิ่งที่ตัวเองได้ค้นคว้าหามาดียิ่งขึ้น

Skill (ทักษะที่ได้รับ)


  • ทักษะการสังเกต
  • ทักษะการคิดวิเคราะห์
  • การค้นคว้า
  • การคาดการณ์
Adoption( การนำไปใช้)


  • นำไปใช้ในการจัดกิจกรรมวิทยศาสตร์ให้กับเด็กๆ

Classroom atmosphere (บรรยากาศในห้องเรียน)


  • สนุกสนาน ตื่นเต้นไปกับสิ่งประดิษฐ์และการทดลองที่เพื่อนๆนำมาเสนอผลงาน

Self-Assessment (ประเมินตนเอง)


  • ตั้งใจเรียนที่อาจารย์สอน 

Friend-Assessment (ประเมินเพื่อน)


  • เพื่อนๆทุกคนให้ความร่วมมือดี

Teacher-Assessment (ประเมินครู)


  • อาจารย์อธิบายรายละเอียดและงานนำเสนอที่นักศึกษาเตรียมมาอย่างละเอียด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น