ผู้วิจัย : นางสาววณิชชา สิทธิพล
มหาวิทยาลัย : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ปี พ.ศ. : 2556
ความสำคัญ/ความเป็นมา :
การจัดกิจกรรมการทำเครื่องดื่มสมุนไพร ซึ่งเป็นกิจกรรมที่พัฒนาให้เด็กเกิดองค์ความรู้ การคิด การวางแผน การเรียงลำดับขั้นตอน ตลอดจนการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้ามาใช้ในการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ในการสังเกต การสัมผัส การชิม การฟัง การดมกลิ่น การเปลี่ยนแปลงของอาหารตามหลักการทางวิทยาศาสตร์ การจำแนกและการวัด ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้และเข้าใจในการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ จนสามารถนำมาใช้ในการพัฒนาความคิดและการสื่อความหมายข้อมูลได้อย่างสมบรูณ์ต่อไป
การจัดกิจกรรมการทำเครื่องดื่มสมุนไพร ซึ่งเป็นกิจกรรมที่พัฒนาให้เด็กเกิดองค์ความรู้ การคิด การวางแผน การเรียงลำดับขั้นตอน ตลอดจนการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้ามาใช้ในการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ในการสังเกต การสัมผัส การชิม การฟัง การดมกลิ่น การเปลี่ยนแปลงของอาหารตามหลักการทางวิทยาศาสตร์ การจำแนกและการวัด ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้และเข้าใจในการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ จนสามารถนำมาใช้ในการพัฒนาความคิดและการสื่อความหมายข้อมูลได้อย่างสมบรูณ์ต่อไป
วัตถุประสงค์ :
1. เพื่อการศึกษาระดับของทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ทั้งโดยรวมและรายด้าน ก่อนและหลังการทดลองการจัดกิจกรรม
2. เพื่อเปรียบเทียบระดับของทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ทั้งโดยรวมและราย ก่อนและการจัดกิจกรรม
1. เพื่อการศึกษาระดับของทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ทั้งโดยรวมและรายด้าน ก่อนและหลังการทดลองการจัดกิจกรรม
2. เพื่อเปรียบเทียบระดับของทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ทั้งโดยรวมและราย ก่อนและการจัดกิจกรรม
สมมติฐาน :
เด็กปฐมวัยมีการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สูงขึ้นเมื่อได้รับการจัดกิจกรรมการทำเครื่องดื่มสมุนไพร
เด็กปฐมวัยมีการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สูงขึ้นเมื่อได้รับการจัดกิจกรรมการทำเครื่องดื่มสมุนไพร
ตัวแปร :
1. ตัวแปรต้น ได้แก่ การจัดกิจกรรมการทำเครื่องดื่มสมุนไพร
2. ตัวแปรตาม ได้แก่ ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วย
2.1 การสังเกต
2.2 การจำแนก
2.3 การวัด
2.4 การสื่อความหมายข้อมูล
1. ตัวแปรต้น ได้แก่ การจัดกิจกรรมการทำเครื่องดื่มสมุนไพร
2. ตัวแปรตาม ได้แก่ ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วย
2.1 การสังเกต
2.2 การจำแนก
2.3 การวัด
2.4 การสื่อความหมายข้อมูล
ประชากร/กลุ่มตัวอย่าง :
เด็กปฐมวัย ชาย-หญิง อายุระหว่าง 4-5 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 ของโรงเรียนวัดชำป่างาม (สายรัฐประชาสรรค์) อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2 จำนวน 15 คน จากการสุ่มนักเรียน
ระยะเวลาในการวิจัย :
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 เวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละประมาณ 50 นาที รวม 24 ครั้ง ในช่วงกิจกรรมเสริมประสบการณ์
เครื่องมือที่ใช้:
1. แผนการจัดกิจกรรมการทำเครื่องดื่มสมุนไพร
2. แบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ระยะเวลาในการวิจัย :
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 เวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละประมาณ 50 นาที รวม 24 ครั้ง ในช่วงกิจกรรมเสริมประสบการณ์
เครื่องมือที่ใช้:
1. แผนการจัดกิจกรรมการทำเครื่องดื่มสมุนไพร
2. แบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
การดำเนินการ :
1. ผู้วิจัยสร้างความคุ้นเคยกับกลุ่มตัวอย่างเป็นเวลา 1 สัปดาห์
2. ผู้วิจัยทำการทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ก่อนการทดลอง (Pretest) จากนั้นนำมาตรวจให้คะแนนตามเกณฑ์
3. ผู้วิจัยทำการทดลองการจัดกิจกรรมการทำเครื่องดื่มสมุนไพร ในช่วงกิจกรรมเสริมประสบการณ์
โดยมีกิจกรรมดังนี้
1. ผู้วิจัยสร้างความคุ้นเคยกับกลุ่มตัวอย่างเป็นเวลา 1 สัปดาห์
2. ผู้วิจัยทำการทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ก่อนการทดลอง (Pretest) จากนั้นนำมาตรวจให้คะแนนตามเกณฑ์
3. ผู้วิจัยทำการทดลองการจัดกิจกรรมการทำเครื่องดื่มสมุนไพร ในช่วงกิจกรรมเสริมประสบการณ์
โดยมีกิจกรรมดังนี้
4. ผู้วิจัยดำเนินการทดลองจนครบ 8 สัปดาห์ จากนั้นทำการทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัย หลังการทดลอง (Posttest) ซึ่งใช้แบบทดสอบชุดเดียวกันกับที่สอบก่อนการ ทดลอง จากนั้นนำมาตรวจให้คะแนนตามเกณฑ์
5. นำข้อมูลที่ได้จากการทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยไปวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการทางสถิติ เพื่อทดสอบสมมติฐาน
สรุปผลวิจัย :
การจัดกิจกรรมการทำเครื่องดื่มสมุนไพรระดับทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยในภาพรวมอยู่ในระดับดี 14.33 คะแนน และเมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านการสังเกต 4.13 คะแนน อยู่ในระดับดีมาก ส่วนด้านการจำแนก 3.26 คะแนน ด้านการวัด 3.60 คะแนน และด้านการสื่อความหมายข้อมูล 3.33 คะแนน อยู่ในระดับดี เมื่อเปรียบเทียบระดับทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยทั้งภาพรวมและรายด้านมีค่าสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมการทำเครื่องดื่มสมุนไพรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น