Psychedelic Pointer 2

วันศุกร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2558

สรุปโทรทัศน์ครู

สรุปโทรทัศน์ครู
เรื่อง แสงกับการมองเห็น



          ครูเฮเลน เอเคอร์แมนเป็นครูประจำชั้นอนุบาล 3 ที่โรงเรียนประถมโคดิโคต เมืองเฮิร์ตฟอร์­ดเชอร์ ประเทศ   ครเฮเลนได้นำเข้าสู่บทเรียน โดยการใช้ใช้นิทานเกี่ยวกั­บลูกหมีตัวหนึ่งซึ่งกลัวความมืด เพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษา จากนั้น เธอจึงตั้งคำถามกระตุ้นความคิดว่าเด็ก ๆ รู้อะไรเกี่ยวกับแสงแล้วบ้าง ชวนให้เด็ก ๆ นึกถึงที่มืดที่เคยไป แล้วจึงสอนคำศัพท์ทางวิทยาศาสตร์ที่สำคัญ ๆ หลังจากนั้น เฮเลนก็จัดกิจกรรมการสืบค้น 2 กิจกรรมหลัก ที่เชื่อมโยงเรื่องแสงกับแหล่งกำเนิดแสงแล­ะเรื่องราวในนิทาน 

- การกระตุ้นนักเรียนให้คิดว่าทำไมแสงจึงจำเ­ป็นต่อการมองเห็น

1.นิทาน Can't you sleep little bear ที่ครูเฮเลนเล่าให้เด็กๆฟัง เพื่อนำเข้าสู่การเรียน

เรื่องแสงและการมองเห็น ที่เกิดจากความสนใจของเด็กๆจากนิทาน



2.ครูใช้คำถามว่าลูกหมีหาแสงได้จากที่ไหน เข้าไปในถ้ำลูกหมีใช้อะไร ครูใช้ไฟฉายส่องไปที่เด็กๆ แล้วถามความรู้สึก แสงมีลักษณะอย่างไร  เด็กๆคนไหนใครเคยอยู่ในที่มืดบ้าง
3.ครูเตรียมอุปกรณ์เกี่ยวกับแสง และแบ่งเป็นฐานต่างๆ เช่น แหล่งกำเนิดแสง ถ้ามืด กล่องแสง กระจกแสง และมีกระดาษคำถามให้เด็กๆได้คิดคำตอบว่าตรงกับที่เด็กๆคาดการณ์ไว้หรือไม่ โดยมีครูคอยถามคำถามกระตุ้นเด็กเกี่ยวกับเรื่องแสงตลอดเวลา
4.จากนั้นให้เด็กๆออกมาอธิบายและสรุป สิ่งที่เด็กได้คาดการณ์ไว้ว่าเป็นอย่างไร 

- คำศัพท์วิทยศาสตร์ที่เด็กเรียนรู้

  • สำรวจค้นคว้า (Investigation)
  • คาดการณ์ ( Predict )
  • ทดสอบ(Test)
  • ผลลัพธ์ (Result)
  •  แหล่งกำเนิดแสง (Light Source) หมายถึง  สิ่งที่ทำให้เกิดแสงได้  แหล่งกำเนิดแสงมีหลายรูปแบบด้วยกัน สามารถแยกได้   3  ประเภท ดังนี้


     1. แสงที่เกิดจากธรรมชาติ  เช่น  

ดวงอาทิตย์ (The Sun) แสงจากดวงอาทิตย์ถือว่าเป็นแหล่งกำเนิดแสงธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุด



    ดาวซิริอุส (Sirius) เป็นที่รู้จักกันทั่วไปในอีกชื่อว่า "ดาวสุนัขใหญ่" และมีชื่อเรียกในภาษาไทยว่า "ดาวโจร" เป็นดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดในตอนกลางคืนและสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า


 ฟ้าผ่า ฟ้าแลบ เกิดจากการถ่ายเทประจุไฟฟ้าจำนวนมากระหว่างวัตถุที่มีประจุไฟฟ้า?ซึ่งอาจเกิดขึ้นระหว่าง พื้นโลกกับก้อนเฆม หรือ ระหว่างก้อนเฆมกับพื้นดิน เหมือนกับหลักการที่ว่า ถ้าเอาวัตถุต่างชนิดมาถูกัน จะเกิดอำนาจของไฟฟ้าขึ้น ในวัตถุทั้งสองนั้น





    2. แสงจากสัตว์  สัตว์บางชนิดจะมีแสงในตัวเอง  เช่น 
หิ่งห้อย  (Firefly, Lightning bug, Lampyrid, Glow worm) เป็นแมลงปีกแข็งโดยมีแสงเรือง ๆ ที่ก้นของแมลง เพราะที่ปล้องแสงมีสาร Luciferin และได้รับพลังงานอะดีโนซีนไตรฟอสเฟต(ATP)โปรตีนให้พลลังงานแก่เซลล์ การที่หิ่งห้อยกระพริบแสงเพื่อสื่อให้เห็นว่าหิ่งห้อยตัววนั้นพร้อมผสมพันธุ์ และหิ่งห้อยยังสามารถบ่งชี้ถึงความอุดมสมบูรณ์และสมดุลของธรรมชาติในระบบนิเวศบริเวณนนั้นได้อีกด้วย





    3. แสงที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้น  เช่น  แสงจากไฟฉาย เทียนไข หลอดไฟฟ้า แสงที่เกิดจากการลุกไหม้



วันอาทิตย์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

มหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2558 (National Science and Technology Fair 2015)



"มหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2558”
(National Science and Technology Fair 2015)
 วันที่ 14-25 พฤศจิกายน 2558 ณ อาคารชาเลนเจอร์ อิมแพ็ค เมืองทองธานี

ภายใต้แนวคิด“จุดประกายความคิด พัฒนาชีวิตด้วยวิทยาศาสตร์ เสริมสร้างชาติด้วยเทคโนโลยี สู่วิถีแห่งนวัตกรรม” โดยรวมสุดยอดนิทรรศการและกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และนวัตกรรมทั้งในและต่างประเทศ มาจัดแสดงอย่างอลังการพลาดไม่ได้กับไฮไลท์ 4DSimulator เรือมหัศจรรย์ The Tomorrow Ship ในรูปแบบ 4DEffect สมจริงพร้อมพบกับหุ่นยนต์โรโบเทสเปียน ฮิวมานอยด์สุดอัจฉริยะและตั๊กแตนไทยชนิดใหม่ของโลกที่ค้นพบได้เฉพาะในประเทศไทย


สัตว์สต๊าฟ








กองทัพบก









วันเสาร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

Diary No. 15 Tuesday, November 24, 2558.

วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
(science experiences Management for Early childhood)
อาจารย์ผู้สอน  อ. จินตนา  สุขสำราญ
วัน-เดือน-ปี 24-11-2558
เรียนครั้งที่  14  เวลาเรียน 13.30.- 17.30 น.






Story of subject (เนื้อหาที่สอน)


 นำเสนอ วิจัย บทความ และโทรทัศน์ครู
  • เลขที่ 15  เรื่อง ผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
  • เลขที่ 24 เรื่อง การศึกษาผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบเด็กที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
  • เลขที่ 25 เรื่อง สอนปฐมวัยด้วยธรรมชาติผสานวิถีพุทธ  ใช้นวัตกรรมมาทามโปรแกรมการเรียนรู้จากธรรมชาติรอบตัว เน้นเด็กเป็นศูนย์

Know lead (ความรู้ที่ได้รับ)
  •  ได้รับความรู้จากงานวิจัยและโทรทัศน์ครูที่เพื่อนๆได้นำเสนอมา

Skill (ทักษะที่ได้รับ)
  •  การฟัง
  • การคิดวิเคราะห์

Adoption( การนำไปใช้)
  •  นำงานวิจัยและโทรทัศน์ครูไปใช้ในการจัดกิจกรรมให้เด็กในอนาคต

Classroom atmosphere (บรรยากาศในห้องเรียน)
  • ทุกคนไม่พร้อมเรียน แต่ตั้งใจเรียนทุกคน

Self-Assessment (ประเมินตนเอง)
  • ไม่พร้อมเรียนเท่าไร เนื่องจากง่วงนอนแต่ก็ตั้งใจเรียน

Friend-Assessment (ประเมินเพื่อน)
  •  เพื่อนๆทุกคนไม่พร้อมเรียนเท่าไร เพราะง่วงนอนกันแต่ก็ตั้งใจเรียน

Teacher-Assessment (ประเมินครู)
  • อาจารย์สังเกตพฤติกรรมของนักศึกษา และมีการใช้คำถามกระตุ้นนักศึกษาให้พร้อมเรียน

วันเสาร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

Diary No. 14 Tuesday, November 17, 2558.

วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
(science experiences Management for Early childhood)
อาจารย์ผู้สอน  อ. จินตนา  สุขสำราญ
วัน-เดือน-ปี 17-11-2558
เรียนครั้งที่  14  เวลาเรียน 13.30.- 17.30 น.


Story of subject (เนื้อหาที่สอน)

ทำคุกกิ้ง(cooking)

  • บัวลอย
  • บลูเบอรี่ชีสพาย
  • ไอศครีม


บัวลอย แบ่งเป็น 3 ฐาน

  • ฐานที่ 1 ผสมแป้งและสีให้เข้ากัน
  • ฐานที่ 2 ปั้นแป้งเป็นรูปวงกลมเล็กๆ


  • ฐานที่ 3 นำแป้งที่ปั้นไว้มาใส่ในหม้อพอแป้งลอยก็ตักขึ้นและราดด้วยน้ำกะทิพร้อมรับประทาน



บลูเบอรี่ชีสพาย  แบ่งเป็น 3 ฐาน

  • ฐานที่ 1 นำโอริโอ้มาบดพร้อมใส่เนยที่ละลายมาแล้วผสมให้เข้ากัน
  • ฐานที่่ 2 นำครีมชีส มะนาว โยเกิร์ต น้ำตาลไอซิ่ง ตีให้เข้ากันแล้ว


  • ฐานที่ 3 นำบลูเบอรี่มาราดหน้าครีมที่ผสมมาและตกแต่งด้วยช็อคชิพเยลลี่



ไอศครีม แบ่งเป็นกลุ่มกลุ่มละ 4-5 คน

อุปกรณ์
  • นมสด
  • เกลือ
  • น้ำแข็ง
  • ถุงซิปล็อค
  • นมข้นหวาน
  • วิปครีม

วิธีทำ

1. นำนมสด นมข้น วิปครีม ผสมให้เข้ากัน จากนั้นเทใส่ถุงซิปล็อคขนาดเล็ก



2. นำน้ำแข็งและเกลือใส่ในถุงซิปล็อคขนาดใหญ่ แล้วนำถุงซิปล็อคเล็กมาใส่ถุงขนาดใหญ่ 

3. จากนั้นก็เขย่าจนกว่านมสดจะแข็งตัวกลายเป็นไอศครีม ให้ตักแบ่งใส่ถ้วยและตกแต่งด้วยช็อคชิฟวิปครีมพร้อมรับประทาน


Know lead (ความรู้ที่ได้รับ)
  • ทราบถึงขั้นตอนและวิธีการทำcooking
Skill (ทักษะที่ได้รับ)
  • การฟัง
  • การคิดวิเคราะห์
  • การลงมือปฎิบัติ
Adoption( การนำไปใช้)
  • นำไปใช้จัดกิจกรรมสอนเด็กปฐมวัย
Classroom atmosphere (บรรยากาศในห้องเรียน)
  • สนุกสนาน 
Self-Assessment (ประเมินตนเอง)
  • ตั้งใจทำกิจกรรม
Friend-Assessment (ประเมินเพื่อน)
  • เพื่อนๆทุกคนสนุกสนาน ตั้งใจทำกิจกรรมที่เพื่อนนำมา
Teacher-Assessment (ประเมินครู)
  • อาจารย์บอกขั้นตอนและอธิบายแผนอย่างละเอียด เพื่อให้นักศึกษานำไปแก้ไขแผนให้ถูกต้อง

วันเสาร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

Diary No. 13 Tuesday, November 10, 2558.

วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
(science experiences Management for Early childhood)
อาจารย์ผู้สอน  อ. จินตนา  สุขสำราญ
วัน-เดือน-ปี 10-11-2558
เรียนครั้งที่  13  เวลาเรียน 13.30.- 17.30 น.



Story of subject (เนื้อหาที่สอน)

ทำคุกกิ้ง(cooking)

  • วาฟเฟิล
  • ข้าวทาโกยากิ
วาฟเฟิล จะแบ่งเป็น 3 ฐาน โดยกลุ่มละ 4-5 คน

ฐานที่ 1 ผสมแป้ง ไข่ นม และน้ำ ตีให้เข้ากัน




ฐานที่ 2 นำแป้งที่ผสมไปเทใส่เตาวาฟเฟิล






ฐานที่ 3 ตกแต่งวาฟเฟิลให้สวยงาม




ข้าวทาโกยากิ จะแบ่งเป็น 4 ฐาน

ฐานที่ 1 ตอกไข่และใส่ข้าวผสมให้เข้ากัน



ฐานที่ 2 นำไปปรุงรส



ฐานที่ 3 นำไปใส่หลุม พลิกไปมาจนสุก



ฐานที่ 4 ราดซอสตกแต่งด้วยส่าหร่าย พร้อมรับประทาน


  • ตรวจแผนการทดลองและคุกกิ้ง
Know lead (ความรู้ที่ได้รับ)

  • ทราบถึงขั้นตอนและวิธีการทำcooking
Skill (ทักษะที่ได้รับ)
  • การฟัง
  • การคิดวิเคราะห์
  • การลงมือปฎิบัติ
    Adoption( การนำไปใช้)
    • นำไปใช้จัดกิจกรรมสอนเด็กปฐมวัย
    Classroom atmosphere (บรรยากาศในห้องเรียน)
    •  สนุกสนาน 
    Self-Assessment (ประเมินตนเอง)
    •  ตั้งใจทำกิจกรรม
    Friend-Assessment (ประเมินเพื่อน)
    •  เพื่อนๆทุกคนให้ความร่วมมือดี ทุกคนสนุกสนาน ตั้งใจทำกิจกรรมที่เพื่อนนำมา
    Teacher-Assessment (ประเมินครู)
    • อาจารย์บอกขั้นตอนและอธิบายแผนอย่างละเอียด เพื่อให้นักศึกษานำไปแก้ไขแผนให้ถูกต้อง

    วันเสาร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

    Diary No. 12 Tuesday, November 3, 2558.

    วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
    (science experiences Management for Early childhood)
    อาจารย์ผู้สอน  อ. จินตนา  สุขสำราญ
    วัน-เดือน-ปี 3-11-2558
    เรียนครั้งที่  8  เวลาเรียน 13.30.- 17.30 น.



    Story of subject (เนื้อหาที่สอน)

    • อาจารย์บอกวิธีการเขียนแผนการทดลองและบอกการเขียนแผนCooking ของแต่ละกลุ่ม 
    แผนการทำคุกกิ้งและการทดลองโดยการเขียนแผนจะต้องมี

    1. วัตถุประสงค์ ต้องครอบคลุมทั้ง 4 ด้านของเด็กปฐมวัย
    2. สาระที่ควรรู้ จะให้เด็กได้รู้จิงๆและเกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะทำ
    3. กิจกรรมการเรียนรู้ ต้องมีขั้นนำ ขั้นสอนและขั้นสรุปอย่างถูกต้อง
    4. แหล่งการเรียนรู้และสื่อ คือ วัสดุอุปกรณ์ที่ต้องใช้
    5. การวัดและประเมินผล คือ การวัดจากการใช้เครื่องมือวัด เช่น การสังเกตเด็ก การบันทึกและจากการวัดประเมินผลงานเด็ก เป็นต้น
    6. บูรณาการ โดยการนำวิชาอื่นๆมาเกี่ยวข้องกับวิชาวิทยาศาสตร์ได้

    Know lead (ความรู้ที่ได้รับ)
    •  แนวทางในการเขียนแผนการจัดประสบการณ์
    Skill (ทักษะที่ได้รับ)
    •  การเขียนแผนกิจกรรม
    Adoption( การนำไปใช้)
    •  นำไปเขียนแผนจัดกิจกรรมให้เด็กปฐมวันในอนาคต
    Classroom atmosphere (บรรยากาศในห้องเรียน)
    •  เพื่อนๆตั้งใจฟังคุณครูสอน
    Self-Assessment (ประเมินตนเอง)
    •  ตั้งใจเรียนที่อาจารย์สอน
    Friend-Assessment (ประเมินเพื่อน)
    •  เพื่อนๆทุกคนให้ความร่วมมือดี
    Teacher-Assessment (ประเมินครู)
    •  อาจารย์อธิบายรายละเอียดและงานนำเสนอที่นักศึกษาเตรียมมาอย่างละเอียด