Psychedelic Pointer 2

วันศุกร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2558

สรุปโทรทัศน์ครู

สรุปโทรทัศน์ครู
เรื่อง แสงกับการมองเห็น



          ครูเฮเลน เอเคอร์แมนเป็นครูประจำชั้นอนุบาล 3 ที่โรงเรียนประถมโคดิโคต เมืองเฮิร์ตฟอร์­ดเชอร์ ประเทศ   ครเฮเลนได้นำเข้าสู่บทเรียน โดยการใช้ใช้นิทานเกี่ยวกั­บลูกหมีตัวหนึ่งซึ่งกลัวความมืด เพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษา จากนั้น เธอจึงตั้งคำถามกระตุ้นความคิดว่าเด็ก ๆ รู้อะไรเกี่ยวกับแสงแล้วบ้าง ชวนให้เด็ก ๆ นึกถึงที่มืดที่เคยไป แล้วจึงสอนคำศัพท์ทางวิทยาศาสตร์ที่สำคัญ ๆ หลังจากนั้น เฮเลนก็จัดกิจกรรมการสืบค้น 2 กิจกรรมหลัก ที่เชื่อมโยงเรื่องแสงกับแหล่งกำเนิดแสงแล­ะเรื่องราวในนิทาน 

- การกระตุ้นนักเรียนให้คิดว่าทำไมแสงจึงจำเ­ป็นต่อการมองเห็น

1.นิทาน Can't you sleep little bear ที่ครูเฮเลนเล่าให้เด็กๆฟัง เพื่อนำเข้าสู่การเรียน

เรื่องแสงและการมองเห็น ที่เกิดจากความสนใจของเด็กๆจากนิทาน



2.ครูใช้คำถามว่าลูกหมีหาแสงได้จากที่ไหน เข้าไปในถ้ำลูกหมีใช้อะไร ครูใช้ไฟฉายส่องไปที่เด็กๆ แล้วถามความรู้สึก แสงมีลักษณะอย่างไร  เด็กๆคนไหนใครเคยอยู่ในที่มืดบ้าง
3.ครูเตรียมอุปกรณ์เกี่ยวกับแสง และแบ่งเป็นฐานต่างๆ เช่น แหล่งกำเนิดแสง ถ้ามืด กล่องแสง กระจกแสง และมีกระดาษคำถามให้เด็กๆได้คิดคำตอบว่าตรงกับที่เด็กๆคาดการณ์ไว้หรือไม่ โดยมีครูคอยถามคำถามกระตุ้นเด็กเกี่ยวกับเรื่องแสงตลอดเวลา
4.จากนั้นให้เด็กๆออกมาอธิบายและสรุป สิ่งที่เด็กได้คาดการณ์ไว้ว่าเป็นอย่างไร 

- คำศัพท์วิทยศาสตร์ที่เด็กเรียนรู้

  • สำรวจค้นคว้า (Investigation)
  • คาดการณ์ ( Predict )
  • ทดสอบ(Test)
  • ผลลัพธ์ (Result)
  •  แหล่งกำเนิดแสง (Light Source) หมายถึง  สิ่งที่ทำให้เกิดแสงได้  แหล่งกำเนิดแสงมีหลายรูปแบบด้วยกัน สามารถแยกได้   3  ประเภท ดังนี้


     1. แสงที่เกิดจากธรรมชาติ  เช่น  

ดวงอาทิตย์ (The Sun) แสงจากดวงอาทิตย์ถือว่าเป็นแหล่งกำเนิดแสงธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุด



    ดาวซิริอุส (Sirius) เป็นที่รู้จักกันทั่วไปในอีกชื่อว่า "ดาวสุนัขใหญ่" และมีชื่อเรียกในภาษาไทยว่า "ดาวโจร" เป็นดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดในตอนกลางคืนและสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า


 ฟ้าผ่า ฟ้าแลบ เกิดจากการถ่ายเทประจุไฟฟ้าจำนวนมากระหว่างวัตถุที่มีประจุไฟฟ้า?ซึ่งอาจเกิดขึ้นระหว่าง พื้นโลกกับก้อนเฆม หรือ ระหว่างก้อนเฆมกับพื้นดิน เหมือนกับหลักการที่ว่า ถ้าเอาวัตถุต่างชนิดมาถูกัน จะเกิดอำนาจของไฟฟ้าขึ้น ในวัตถุทั้งสองนั้น





    2. แสงจากสัตว์  สัตว์บางชนิดจะมีแสงในตัวเอง  เช่น 
หิ่งห้อย  (Firefly, Lightning bug, Lampyrid, Glow worm) เป็นแมลงปีกแข็งโดยมีแสงเรือง ๆ ที่ก้นของแมลง เพราะที่ปล้องแสงมีสาร Luciferin และได้รับพลังงานอะดีโนซีนไตรฟอสเฟต(ATP)โปรตีนให้พลลังงานแก่เซลล์ การที่หิ่งห้อยกระพริบแสงเพื่อสื่อให้เห็นว่าหิ่งห้อยตัววนั้นพร้อมผสมพันธุ์ และหิ่งห้อยยังสามารถบ่งชี้ถึงความอุดมสมบูรณ์และสมดุลของธรรมชาติในระบบนิเวศบริเวณนนั้นได้อีกด้วย





    3. แสงที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้น  เช่น  แสงจากไฟฉาย เทียนไข หลอดไฟฟ้า แสงที่เกิดจากการลุกไหม้



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น