Psychedelic Pointer 2

วันเสาร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2558

Diary No. 8 Tuesday,October 6, 2558.

วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
(science experiences Management for Early childhood)
อาจารย์ผู้สอน  อ. จินตนา  สุขสำราญ
วัน-เดือน-ปี 6-10-2558
เรียนครั้งที่  8  เวลาเรียน 13.30.- 17.30 น.



Story of subject (เนื้อหาที่สอน)
  • เลขที่ 4 นำเสนอวิจัย เรื่องการศึกษาผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยที่มีทักษะต่อกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
  • นำเสนอสิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์
ของเล่นวิทยาศาสตร์ เรื่อง จั๊กจั่นของเล่นเลียนเสียงธรรมชาติ


ประวัติ


จั๊กจั่นเป็นของเล่นพื้นบ้านชนิดหนึ่ง ซึ่งเมื่อเล่นจะทำเสียงเลียนแบบธรรมชาติ ของเล่นชิ้นนี้มีเล่นกันมานานแล้ว จั๊กจั่น หรือที่เรียกกันว่า อ๊อดๆ เป็นของเล่นพื้นบ้าน โดยชาวจีนกวางตุ้งเป็นผู้นำมาเผยแพร่เมื่อประมาณ 70 ปีก่อน เด็กๆชอบนำมาแกว่งเล่นส่งเสียงดัง คล้ายกับเสียงจักจั่น 

วัสดุอุปกรณ์
  1. ไม้ตะเกียบ
  2. ยางสน
  3. ขวดนม
  4. กระดาษสีต่างๆ                         
  5. เชือกเอ็น
  6. ไม้กลัด
  7. กาว
  8. กรรไกร
  9. คัตเตอร์

ขั้นตอนการประดิษฐ์
1. เคี่ยวยางสนให้เหลว



2. นำแท่งไม้ตะเกียบชุบที่ปลายไม้ให้ยางสนเคลือบที่ปลายไม้

3. นำเส้นเอ็นมาผูกที่ปลายแท่งไม้ตะเกียบด้านที่เคลือบยางสนไว้



4. ตัดขวางขวดนมเป็นวงกลม 


5. นำกระดาษสีทากาวแล้วติดหุ้มด้านบนของขวดนม ที่ตัดขวางเป็นวงกลม



6. จากนั้นตกแต่งด้านข้างให้ให้สวยงามด้วยกระดาษสีต่าง ๆ




7.พับเก็บปลายกระดาษให้เรียบร้อย






8.เจาะรูตรงกลางหลังกาวแห้งแล้ว




9.ร้อยเส้นเอ็นอีกด้านเข้าไปในช่องที่เจาะรูไว้แล้วนำไม้กลัดมาผูกกับเส้นเอ็น ตรงกลางเพื่อกันไม่ให้เส้นเอ็นหลุดจากไม้ไผ่ที่ตกแต่งไว้



วิธีเล่น 


          ต้องหมุนกระบอกที่ถ่วงไปรอบ ๆอย่างรวดเร็ว จะมีเสียงเกิดขึ้น 

ลักษณะการเกิดเสียง

          เสียงเกิดขึ้นขณะเหวี่ยงกระบอกให้หมุน ทำให้เส้นเอ็นที่ปลายไม้เสียดสีกับยางสน จากนั้นเสียงก็เดินทางผ่านตัวกลางคือเส้นเอ็นมาที่กระบอก ทำให้เสียงดังขึ้น โดยเสียงที่เกิดขึ้น จะมีลักษณะคล้ายเสียงจักจั่น 

ประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์

         เด็กได้เรียนรู้ในเรื่อง เสียง (Sound) คือ พลังงานรูปแบบหนึ่งที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของโมเลกุลของอากาศ ทำให้เกิดการอัดและขยาย สลับกันความดันบรรยากาศจึงเกิดการเปลี่ยนแปลงตามการเคลื่อนที่ของโมเลกุลอากาศ เรียกว่า คลื่นเสียง
เด็กสามารถประดิษฐ์ของเล่นเชิงวิทยาศาสตร์ได้ด้วยตนเอง


Know lead (ความรู้ที่ได้รับ)
  • สิ่งประดิษฐ์ต่างๆของเพื่อนๆที่นำมาเสนอ เกี่ยวกับธรรมชาติรอบๆตัวเด็ก
Skill (ทักษะที่ได้รับ)
  • สิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์ของแต่ละคน
Adoption( การนำไปใช้)
  • สามารถนำไปสอนให้เด็กอนุบาลเข้าใจวิทยาศาสตร์ได้เข้าใจง่ายขึ้น
Classroom atmosphere (บรรยากาศในห้องเรียน)
  • ไม่มีเก้าอี้ให้นั่งเรียน ทำให้เขียนหนังสือไม่ถนัด

Self-Assessment (ประเมินตนเอง)
  •  ตั้งใจเรียนที่อาจารย์สอน
Friend-Assessment (ประเมินเพื่อน)
  • เพื่อนๆทุกคนให้ความร่วมมือดี ตั้งใจฟัง
Teacher-Assessment (ประเมินครู)
  • อาจารย์อธิบายรายละเอียดทางวิทยาศาสตร์ของสิ่งประดิษฐ์อย่างละเอียด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น