Psychedelic Pointer 2

วันอาทิตย์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2558

Diary No. 6 Tuesday, September 15, 2558.

วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
(science experiences Management for Early childhood)
อาจารย์ผู้สอน  อ. จินตนา  สุขสำราญ
วัน-เดือน-ปี 15-09-2558
เรียนครั้งที่  6  เวลาเรียน 13.30.- 17.30 น.



Story of subject (เนื้อหาที่สอน)

    - การทำงานของสมอง
    - หลักการ/แนวคิดสู่การปฏิบัติการพัฒนาการเด็ก
    - ความหมายของวิทยาศาสตร์

Know lead (ความรู้ที่ได้รับ)


      - อาจาร์ยแจกกระดาษคนละ1ใบ และให้เขียนการทำงานของสมองมีอะไร้บางและให้แบ่งปันความรู้กันในห้อง


การทำงานของสมอง
           สมอง คือ ระบบประสาททำหน้าที่ควบคุมและ สั่งการเคลื่อนไหว แสดงพฤติกรรม การรับรู้ อารมณ์ ความรู้สึกและรักษาสมดุลในร่างกาย มีหน้าที่ดูแลปกป้องเซลล์ประสาทที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูลในรูปแบบของสัญญาณไฟฟ้า

การทำงานของสมองมนุษย์แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ
-          - สมองส่วนหน้า ทำหน้าที่เก็บข้อมูล ควบคุมการทำงานของร่างกาย กล้ามเนื้อ การรับสัมผัส ความจำ เชาวน์ปัญญา และการได้ยิน
-           - สมองส่วนกลาง ถูกสั่งการออกมาจากสมองส่วนหน้า ควบคุมการเคลื่อนไหวและการทำงานของประสาทตา
-           - สมองส่วนท้าย ควบคุมการทำงานการเคลื่อนไหวของร่างกาย การทรงตัว และควบคุมการหายใจ การหมุนเวียนของเลือด



สมองแบ่งออกเป็น 2 ซีก คือ
- สมองซีกขวา
สมองซีกขวาทำหน้าที่ได้ดีในด้านต่อไปนี้
- การเข้าใจภาษาง่ายๆ ที่ไม่ซับซ้อน
- ความคิดสร้างสรรค์
- การมีอารมณ์ขัน
- การรับรู้เกี่ยวกับการสัมผัส
- ความคิดเชิงนามธรรม
- การใช้ภาษาท่าทางหรือภาษากาย

- สมองซีกซ้าย      
สมองซีกซ้ายทำหน้าที่ได้ดีในด้านต่อไปนี้
- การแสดงออกทางด้านการพูด
- การรับรู้ด้านภาษา
- การใช้กล้ามเนื้อแขนขาและมือ
- ความระมัดระวัง
- การเรียนรู้โดยการจัดหมวดหมู่
- การสร้างแนวคิดใหม่ๆ หรือความรู้ที่เกี่ยวกับแนวความคิด
- การวิเคราะห์เกี่ยวกับเวลา
                      - การเรียนคณิตศาสตร์คำนวณ



หลักการ/แนวคิดสู่การปฏิบัติการพัฒนาการเด็ก
1. กีเซล (Gesell)
หลักการ :
    - พัฒนาการของเด็กเป็นไปอย่างมีแบบแผนและเป็นขั้นตอนเด็กควรพัฒนาไปตามธรรมชาติไม่ควรเร่งหรือบังคับ
    - การเรียนรู้ของเด็กเกิดขึ้นจากการเคลื่อนไหวการใช้ภาษาการปรับตัวเข้ากับสังคมและบุคคลรอบข้าง
แนวคิดสู่การปฏิบัติพัฒนาการเด็ก :
    - โครงสร้างของหลักสูตรยุทธนาการเด็ก คุณลักษณะที่พึงประสงค์และประสบการณ์สำคัญ
    - ไม่ควรเร่งสอนสิ่งที่ยากเกินพัฒนาการตามวัยของเด็ก
    - จัดกิจกรรมให้เด็กมีโอกาสเคลื่อนไหวกิจกรรมเดี่ยว และกิจกรรมกลุ่ม
    - จัดกิจกรรมให้เด็กได้ฟังได้พูด ท่องคำคล้องจองร้องเพลงฟังนิทาน

2. ฟรอยด์ (Freud)
หลักการ :
     - ประสบการณ์ในวัยเด็กส่งผลต่อบุคลิกภาพของคนเราเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่หากเด็กไม่ได้รับการตอบสนองอย่างเพียงพอจะเกิดอาการชะงักพฤติกรรมถดถอยคับข้องใจส่งผลต่อพัฒนาการของเด็ก
แนวคิดสู่การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก     - ครูเป็นแบบอย่างที่ดีทางการแสดงออก ท่าที วาจา
     - จัดกิจกรรมเป็นขั้นตอนจากง่ายไปยากจัดสิ่งแวดล้อมที่บ้านและโรงเรียนเพื่อส่งเสริมพัฒนาการ

3. อิริคสัน ( Erikson )
หลักการ  :
      - ถ้าเด็กอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เด็กพอใจ ประสบผลสำเร็จเด็กจะมองโลกในแง่ดีมีความเชื่อมั่นและไว้วางใจผู้อื่น
      - ถ้าเด็กอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดีไม่พอใจจะมองโลกในแง่ร้ายขาดความเชื่อมั่นในตนเองและไม่วางไว้วางใจผู้อื่น
แนวคิดสู่การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก :  
      - จัดกิจกรรมให้เด็กมีโอกาสประสบผลสำเร็จโดยจัดกิจกรรมที่เหมาะกับวัยไม่ยากและมีให้เลือกตามความสามารถหรือความสนใจ
      - จัดบรรยากาศในห้องเรียนให้เด็กมีโอกาสสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อสภาพแวดล้อมครูและเพื่อนเพื่อน เช่น จัดบรรยากาศให้อบอุ่นมีความสบายใจและเด็กได้ทำกิจกรรมร่วมกัน

4. เพียเจต์ ( Piaget)
หลักการ :
      - พัฒนาการทางเชาวน์ปัญญาของเด็กเกิดจากการที่เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมรอบรอบตัวเด็กมีการรับรู้จากสิ่งแวดล้อมใหม่ๆที่เกิดขึ้นตลอดเวลาและมีการปรับขยายประสบการณ์เดิมความคิดและความหมายมากขึ้น
      - พัฒนาการของเด็กปฐมวัย 0-6 ปี
  1) ขั้นประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหววัย 0 ถึง 2 ปี เด็กเรียนรู้ทุกอย่างทางประสาทสัมผัสทุกด้าน     2) ขั้นความคิดก่อนปฏิบัติการวัย 2 เดือน 6 ปี เริ่มเรียนภาษาพูดและภาษาท่าทางในการสื่อสาร ตนเองเป็นศูนย์กลางคิดหาเหตุผลไม่ได้จัดหมวดหมู่ได้ตามเกณฑ์ของต้น
แนวคิดสู่การปฏิบัติพัฒนาการเด็ก :
     - จัดกิจกรรมให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 กิจกรรมสำรวจทดลองกิจกรรมประกอบอาหารทัศนศึกษา
     - จัดให้เด็กฝึกฝนทักษะสังเกตจำแนกเปรียบเทียบ เช่น การเล่นเกมการศึกษาการเรียนรู้จากสื่อของจริงการสำรวจทดลอง
     - จัดให้เด็กได้เรียนรู้จากสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวไปสู่เรื่องไกลตัวเรียนรู้จักหน่วยตามความสนใจและเรียนรู้จากสิ่งที่เป็นรูปธรรมก่อน

5. ดิวอี้ ( Dewey)
หลักการ :
      - เด็กเรียนรู้โดยการกระทำ
      - การพัฒนาสติปัญญาของเด็กจะต้องฝึกให้เด็กคิดแบบวิทยาศาสตร์และมีระบบ
แนวคิดสู่การปฏิบัติพัฒนาการเด็ก :  
      - จัดกิจกรรมให้เด็กได้ประสบผลสำเร็จ พึงพอใจต่อสภาพแวดล้อมของห้องเรียน เพื่อน ครู
      - จัดบรรยากาศในห้องเรียน ให้เด็กมีโอกาสในห้องเรียน ให้เด็กมีโอกาสสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อสภาพแวดล้อม ครู และเพื่อนๆ

6. สกินเนอร์ (Skinner)
หลักการ :
      - ถ้าเด็กได้รับคำชมเชยและประสบความสำเร็จในการทำกิจกรรมเด็กจะสนใจที่จะทำต่อไป
      - เด็กแต่ละคนมีความแตกต่างไม่มีใครเหมือนใคร
แนวคิดสู่การปฏิบัติพัฒนาการเด็ก :   
      - ให้แรงเสริม เช่น ชมเชย ชื่นชม เมื่อเด็กทำกิจกรรมประสบผลสำเร็จ
      - ไม่นำเด็กมาเปรียบเทียบแข่งขันกัน

7. เปสตาลอสซี่ ( Pestalozzi)
หลักการ :
      - ความรักเป็นพื้นฐานสำคัญและจำเป็นต่อการพัฒนาเด็ก  ทั้งด้านร่างกายและสติปัญญา
      - เด็กแต่ละคนแตกต่างกัน ทั้งด้านความสนใจ ความต้องการ และระดับความสามารถในการเรียน
      - เด็กไม่ควรถูกบังคับให้เรียนรู้ด้วยการท่องจำ
แนวคิดสู่การปฏิบัติพัฒนาการเด็ก :   
      - จัดกิจกรรมเตรียมความพร้อม ให้ความรัก ให้เวลา และให้เด็กเรียนรู้จากประสบการณ์

8. เฟรอเบล ( Froeble)
หลักการ :
       - ควรส่งเสริมพัฒนาการตามธรรมชาติของเด็กด้วยการกระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์อย่างเสรี
แนวคิดสู่การปฏิบัติพัฒนาการเด็ก :   
      - จัดกิจกรรมเรียนรู้ผ่านการเล่นอย่างเสรี

9.เอลคายน์ ( Elkind )
หลักการ :
        - การเร่งเด็กให้เรียนรู้แต่เล็กเป็นอันตรายต่อเด็ก
        - เด็กควรมีโอกาสเล่นและเลือกกิจกรรมการเล่นด้วยตนเอง
แนวคิดสู่การปฏิบัติพัฒนาการเด็ก :   
        - จัดบรรยากาศในห้องเรียนให้เด็กมีโอกาสเล่นและเลือกกิจกรรมการเล่นด้วยตนเอง



ความหมายของวิทยาศาสตร์
        วิทยาศาสตร์หมายถึง การศึกษาสืบค้นและจัดระบบความจริงเกี่ยวกับธรรมชาติโดยอาศัยกระบวนการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่ประกอบด้วยวิธีการ ทักษะกระบวนการ และเจตคติทางวิทยาศาสตร์อย่างมีระบบแบบแผน มีขอบเขตโดยอาศัยการสังเกต การทดลองเพื่อค้นหาความเป็นจริงและทำให้ได้มาซึ่งความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป

แนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
1. การเปลี่ยนแปลง
2. ความแตกต่าง
3. การปรับตัว
4. การพึ่งพาอาศัยกัน
5. ความสมดุล

การศึกษาวิธีการทางวิทยาศาสตร์
1. ขั้นกำหนดปัญหา
2. ขั้นตั้งค่าสมมติฐาน
3. ขั้นรวบรวมข้อมูล
4. ขั้นลงข้อสรุป

เจตคติทางวิทยาศาสตร์
1. ความอยากรู้อยากเห็น
2. ความเพียรพยายาม
3. ความมีเหตุผล
4. ความซื่อสัตย์
5. ความมีระเบียบและรอบคอบ
6. ความใจกว้าง

การเรียนรู้อย่างมีความสุข
- การเรียนรู้จากการคิดและปฏิบัติจริง
- การเรียนรู้แบบองค์รวมที่ครอบคลุมพัฒนาการทุกด้าน
- การเรียนรู้จากการคิดและปฏิบัติจริง
- การเรียนรู้โดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5
- พัฒนาทักษะการสังเกต การเปรียบเทียบ การจำแนก การสรุปความคิดรวบยอด การแก้ปัญหา การคิดสร้างสรรค์ ฯลฯ
- กิจกรรมโครงการ กิจกรรมประจำวัน การเล่น กิจกรรมการทดลอง กิจกรรมการศึกษานอกสถานที่ กิจวัตรประจำวัน ฯลฯ

การเรียนรู้แบบองค์รวม
- กิจกรรมที่จัดสอดคล้องกับประสบการณ์ที่ได้รับ
- ครูผู้สอนหรือผู้ดูแล เด็กควรหลอมรวมหรือเชื่อมโยงความรู้ประสบการณ์
- ครอบคลุมพัฒนาการทุกด้านทั้งทางร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญา
- ประสบการณ์ต่างๆ สัมพันธ์กันในลักษณะบูรณาการ

สรุป หลักการจัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย
พัฒนาเด็กให้ครบทุกพัฒนาการ เน้นให้เด็กได้ช่วยเหลือตนเองและอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข กิจกรรมที่จัดต้องมีความสมดุล ยึดเด็กเป็นสำคัญ และต้องประสานสัมพันธ์กับครอบครัวและชุมชน


กิจกรรมนำเสนอบทความ

เลขที่ 1 นำเสนอบทความ เรื่อง " วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย "
เลขที่ 2 นำเสนอบทความ เรื่อง " สอนลูกเรื่องปรากฏการณ์ธรรมชาติ "
เลขที่ 3 นำเสนอบทความ เรื่อง " แนวทางการสอนคิด เติมวิทย์ให้เด็กอนุบาล "


Skill (ทักษะที่ได้รับ)

    - ทักษะการตอบคำถาม
    - ทักษะการคิดวิเคราะห์
    - ทักษะการใช้ความคิดรวบยอด

Adoption( การนำไปใช้)

         นำความรู้ที่ได้ไปใช้เป็นหลักการการจัดการเรียนการสอน โดยจัดให้สอดคล้องกับความต้องการและพัฒนาการของเด็ก

Classroom atmosphere (บรรยากาศในห้องเรียน)

       เพื่อนๆให้ความร่วมมือในการตั้งใจฟังคุณครูดีมาก

Self-Assessment (ประเมินตนเอง)

       เข้าใจเนื่อหาที่คุณครูสอน เขียนหนังสือไม่ถนัดเพราะไม่มีโต๊ะในการนั่งเขียน

Friend-Assessment (ประเมินเพื่อน)

        เพื่อนให้ความร่วมมือในการตอบคำถามทุกคนอาจมีเสียงคุยบ้างเล็กน้อย

Teacher-Assessment (ประเมินครู)

        เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพ  ใช้คำถามในการกระตุ้นผู้เรียน 



Diary No. 5 Tuesday, September 8, 2558.

วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
(science experiences Management for Early childhood)
อาจารย์ผู้สอน  อ. จินตนา  สุขสำราญ
วัน-เดือน-ปี 8-09-2558
เรียนครั้งที่  5  เวลาเรียน 13.30.- 17.30 น.


Story of subject (เนื้อหาที่สอน)

    กิจกรรมประดิษฐ์ของเล่นจากกระดาษที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ 

Know lead (ความรู้ที่ได้รับ)

 อาจารย์แจกกระดาษ 1 แผ่น ให้นักศึกษาประดิษฐ์ของเล่นเป็นอะไรก็ได้ที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ จากนั้นให้นำเสนอเป็นรายบุคคล
      กระดาษ 1 แผ่น นำมาประดิษฐเป็นของเล่นโดยการพับเป็นเรือ สอนเรื่องแรงลอยตัว


ทำไมเรือเหล็กถึงลอยน้ำได้?

การที่วัตถุสามารถลอยตัวอยู่ในน้ำได้  เนื่องจาก วัตถุนั้นมีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำ   
และน้ำก็มีแรงดันวัตถุให้ลอยขึ้นมา    แรงนี้เรียกว่า   “แรงลอยตัวหรือแรงพยุง”    
ซึ่งแรงนี้จะขึ้นอยู่กับปริมาณของน้ำที่ถูกวัตถุนั้นแทนที่    ยิ่งวัตถุมีพื้นที่สัมผัสกับน้ำมากเท่าไหร่   
หรือเข้าไปแทนที่น้ำได้มาก (สังเกตจากปริมาณน้ำในขันหรือชามที่สูงขึ้น)  
ความหนาแน่นของวัตถุจะลดลง   และแรงลอยตัวจะเพิ่มขึ้น   วัตถุจึงลอยตัวในน้ำได้
 ดังนั้นหากแผ่วัตถุให้มีขนาดใหญ่และมีขอบโค้งขึ้นมาคล้ายเรือ  วัตถุนั้นก็จะลอยตัวได้ดี 

ความรู้เพิ่มเติม

- ลม (wind) คือ อากาศที่เคลื่อนที่
- อากาศ (air) คือ สิ่งทีีมองไม่เห็นแต่ มีตัวตน และต้องการที่อยู่ ซึ่งถ้าอากาศเคลื่อนที่จะกลายเป็นลม และลมก็จะทำให้เกิดพลังงาน (energy)
- แสง (light) จะไม่สามารถผ่านวัตุได้ จึงทำให้เกิดเป็นเงา ซึ่งแสงจะเดินทางเป็นเส้นตรง

ทฤษฎีของเพียเจย์ (Piaget)

เด็กเรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 (Sensory - Motor)
1.ขบวนการปรับเข้าสู่โครงสร้าง (Assimilation) หมายถึง การที่เด็กนำเอาความรู้ใหม่ เข้าไปผสมผสากลมกลืนกับครวามรู้เดิมที่มีอยู่
2.การจัดประขยายโครงสร้าง (Accommodation)  หมายถึง การนำความรู้ใหม่ที่ได้รับไปปรับปรุงความคิิดให็เข้ากับสภาพแวดล้อมได้อย่างเหมาะสม

ทฤษฎีของจอห์น ดิวอี้ (John Dewy)
       การจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นการปฏิบัติจริง เด็กจะเรียนรู้โดยการลงมือทำเป็นการเรียนรู้ในแบบ Learning by doing ผู้เรียนจะเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ แนวคิดนี้จะจัดการสอนแบบโครงการ (Project-based learning) เป็นการสอนที่ให้ผู้เรียนได้เรียนจากการปฏิบัติจริง เป็นการเรียนจากประสบการณ์ตรง ผู้เรียนได้ทดลองทำปฏิบัติ เสาะหาข้อมูล จัดระเบียบข้อมูล พิจารณาหาข้อสรุป ค้นคว้าหาวิธีการ กระบวนการด้วยตนเอง หรือร่วมกันเป็นกลุ่ม เน้นให้ผู้เรียนมีอิสระในการศึกษาหาความรู้ตามหลักประชาธิปไตยให้ผู้เรียนได้รู้จักการทำงานร่วมกับผู้อื่น ให้ได้ค้นคว้าหาข้อมูลความรู้จากแหล่งต่าง ๆ มิใช่เฉพาะในห้องเรียนเท่านั้น ทำให้ผู้เรียนเกิดนิสัยการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเองได้ด้วยความมั่นใจ

Skill (ทักษะที่ได้รับ)
        - การวิเคราะห์
        - การตอบคำถาม
        - ความคิดรวมยอด

Adoption( การนำไปใช้)

        ใช้ในการบรูณาการการเรียนการสอนในการจัดเสริมประสบการณ์เด็กปฐมวัย ในการทำสื่อวิทยาศาสตร์จากการนำกระดาษมาประดิษฐ์

Classroom atmosphere (บรรยากาศในห้องเรียน)

        เพื่อนๆให้ความร่วมมือในการตั้งใจฟังคุณครูดีมากแม้ไม่มีโต๊ะในการนั่งเขียน

Self-Assessment (ประเมินตนเอง)

        มาเรียนได้ทันเวลาสอน  เข้าใจเนื่อหาที่คุณครูสอน

Friend-Assessment (ประเมินเพื่อน)

         เพื่อนให้ความร่วมมือในการตอบคำถามทุกคนอาจมีเสียงคุยบ้างเล็กน้อย

Teacher-Assessment (ประเมินครู)

           เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพ  ใช้คำถามในการกระตุ้นผู้เรียน 



วันจันทร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2558

Diary No. 4 Tuesday, September 1, 2558.

วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
(science experiences Management for Early childhood)
อาจารย์ผู้สอน  อ. จินตนา  สุขสำราญ
วัน-เดือน-ปี 1-09-2558
เรียนครั้งที่  4  เวลาเรียน 13.30.- 17.30 น.




คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
ได้จัดงานนิทรรศการศึกษาศาสตร์วิชาการ
ในหัวข้อเรื่อง การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21



Story of subject (เนื้อหาที่สอน)

      นักศึกษาได้เข้าฟังบรรยายการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
ผู้บรรยายให้ความรู้ โดย ดร. อภิภู สิทธิภูมิมงคล จากมหาวิทยาลัยมหิดล

Knowlead (ความรู้ที่ได้รับ)

   ความท้าทายด้านการศึกษาในศตวรรษที่ 21  ในการเตรียมนักเรียนให้พร้อมกับชีวิตในศตวรรษที่ 21 เป็นเรื่องสำคัญของกระแสการปรับเปลี่ยนทางสังคมที่เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 21 ส่งผลต่อวิถีการดำรงชีพของสังคมอย่างทั่วถึง ครูจึงต้องมีความตื่นตัวและเตรียมพร้อมในการจัดการเรียนรู้เพื่อเตรียมความพร้อมให้นักเรียนมีทักษะสำหรับการออกไปดำรงชีวิตในโลกในศตวรรษที่ 21 ที่เปลี่ยนไปจากศตวรรษที่ 20 และ 19 โดยทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ที่สำคัญที่สุด คือ ทักษะการเรียนรู้ (Learning Skill) ส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงการจัดการเรียนรู้เพื่อให้เด็กในศตวรรษที่ 21 นี้ มีความรู้ ความสามารถ และทักษะจำเป็น ซึ่งเป็นผลจากการปฏิรูปเปลี่ยนแปลงรูปแบบการจัดการเรียนการสอน ตลอดจนการเตรียมความพร้อมด้านต่างๆ 
    ปัจจุบันการเรียนรู้สาระวิชา (content หรือ subject matter) ควรเป็นการเรียนจากการค้นคว้าเองของศิษย์ โดยครูช่วยแนะนำ และช่วยออกแบบกิจกรรมที่ช่วยให้นักเรียนแต่ละคนสามารถประเมินความก้าวหน้าของการเรียนรู้ของตนเองได้


สาระวิชาหลัก (Core Subjects) ประกอบด้วย 
1.ภาษาแม่ และภาษาสำคัญของโลก
2.ศิลปะ
3.คณิตศาสตร์
4.การปกครองและหน้าที่พลเมือง
5.เศรษฐศาสตร์
6.วิทยาศาสตร์
7.ภูมิศาสตร์
8.ประวัติศาสตร์

     โดยวิชาแกนหลักนี้จะนำมาสู่การกำหนดเป็นกรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์สำคัญต่อการจัดการเรียนรู้ในเนื้อหาเชิงสหวิทยาการ (Interdisciplinary) หรือหัวข้อสำหรับศตวรรษที่ 21 โดยการส่งเสริมความเข้าใจในเนื้อหาวิชาแกนหลัก และสอดแทรกทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 เข้าไปในทุกวิชาแกนหลัก ดังนี้
ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21
          - ความรู้เกี่ยวกับโลก (Global Awareness)
          - ความรู้เกี่ยวกับการเงิน เศรษฐศาสตร์ ธุรกิจ และการเป็นผู้ประกอบการ
             (Financial, Economics, Business and Entrepreneurial Literacy)
          - ความรู้ด้านการเป็นพลเมืองที่ดี (Civic Literacy)
          - ความรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy)
          - ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Literacy)

ทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม เป็นตัวกำหนดความพร้อมของนักเรียนเข้าสู่โลกการทำงาน
ที่มีความซับซ้อนมากขึ้นในปัจจุบัน ได้แก่
       - ความริเริ่มสร้างสรรค์และนวัตกรรม
       - การคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา
       - การสื่อสารและการร่วมมือ

ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี เนื่องด้วยในปัจจุบันมีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร
ผ่านทางสื่อและเทคโนโลยีมากมาย ผู้เรียนจึงต้องมีความสามารถในการแสดงทักษะการคิด
อย่างมีวิจารณญาณและปฏิบัติงานได้หลากหลาย โดยอาศัยความรู้ในหลายด้าน ดังนี้
        - ความรู้ด้านสารสนเทศ
        - ความรู้เกี่ยวกับสื่อ
        - ความรู้ด้านเทคโนโลยี



ทักษะด้านชีวิตและอาชีพ ในการดำรงชีวิตและทำงานในยุคปัจจุบันให้ประสบความสำเร็จ นักเรียนจะต้องพัฒนาทักษะชีวิตที่สำคัญดังต่อไปนี้
   - ความยืดหยุ่นและการปรับตัว
   - การริเริ่มสร้างสรรค์และเป็นตัวของตัวเอง
   - ทักษะสังคมและสังคมข้ามวัฒนธรรม
   - การเป็นผู้สร้างหรือผู้ผลิต (Productivity) และความรับผิดชอบเชื่อถือได้ (Accountability)
   - ภาวะผู้นำและความรับผิดชอบ (Responsibility)

ทักษะของคนในศตวรรษที่ 21 ที่ทุกคนจะต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต คือ การเรียนรู้ 3R x 7C
    3R คือ Reading (อ่านออก), (W)Riting (เขียนได้), และ (A)Rithemetics (คิดเลขเป็น)
    7C ได้แก่
       - Critical Thinking and Problem Solving (ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและ
          ทักษะในการแก้ปัญหา)
       - Creativity and Innovation (ทักษะด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม)
       - Cross-cultural Understanding (ทักษะด้านความเข้าใจความต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์)
       - Collaboration, Teamwork and Leadership (ทักษะด้านความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม
          และภาวะผู้นำ)
       - Communications, Information, and Media Literacy (ทักษะด้านการสื่อสารสารสนเทศ
          และรู้เท่าทันสื่อ)
       - Computing and ICT Literacy (ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร)
       - Career and Learning Skills (ทักษะอาชีพ และทักษะการเรียนรู้)

       แนวคิดทักษะแห่งอนาคตใหม่: การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และกรอบแนวคิดเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เป็นการกำหนดแนวทางยุทธศาสตร์ในการจัดการเรียนรู้ โดยร่วมกันสร้างรูปแบบและแนวปฏิบัติในการเสริมสร้างประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยเน้นที่องค์ความรู้ ทักษะ ความเชี่ยวชาญและสมรรถนะที่เกิดกับตัวผู้เรียน เพื่อใช้ในการดำรงชีวิตในสังคมแห่งความเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน โดยจะอ้างถึงรูปแบบ (Model) ที่พัฒนามาจากเครือข่ายองค์กรความร่วมมือเพื่อทักษะแห่งการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (Partnership For 21st Century Skills) (www.p21.org ) ที่มีชื่อย่อว่า เครือข่าย P21  ซึ่งได้พัฒนากรอบแนวคิดเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยผสมผสานองค์ความรู้ ทักษะเฉพาะด้าน ความชำนาญการและความรู้เท่าทันด้านต่างๆ เข้าด้วยกัน เพื่อความสำเร็จของผู้เรียนทั้งด้านการทำงานและการดำเนินชีวิต


         กรอบแนวคิดเชิงมโนทัศน์สำหรับทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 เป็นที่ยอมรับในการสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (Model of 21st Century Outcomes and Support Systems) ซึ่งเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางเนื่องด้วยเป็นกรอบแนวคิดที่เน้นผลลัพธ์ที่เกิดกับผู้เรียน (Student Outcomes) ทั้งในด้านความรู้สาระวิชาหลัก (Core Subjects) และทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ที่จะช่วยผู้เรียนได้เตรียมความพร้อมในหลากหลายด้าน รวมทั้งระบบสนับสนุนการเรียนรู้ ได้แก่มาตรฐานและการประเมิน หลักสูตรและการเยนการสอน การพัฒนาครู สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเรียนในศตวรรษที่ 21
       การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ต้องก้าวข้าม “สาระวิชา” ไปสู่การเรียนรู้ “ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21” (21st Century Skills) ซึ่งครูจะเป็นผู้สอนไม่ได้ แต่ต้องให้นักเรียนเป็นผู้เรียนรู้ด้วยตนเอง โดยครูจะออกแบบการเรียนรู้ ฝึกฝนให้ตนเองเป็นโค้ช (Coach) และอำนวยความสะดวก (Facilitator) ในการเรียนรู้แบบ PBL (Problem-Based Learning) ของนักเรียน ซึ่งสิ่งที่เป็นตัวช่วยของครูในการจัดการเรียนรู้คือ ชุมชนการเรียนรู้ครูเพื่อศิษย์ (Professional Learning Communities : PLC) เกิดจากการรวมตัวกันของครูเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำหน้าที่ของครูแต่ละคนนั่นเอง







คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
ได้จัดงานนิทรรศการศึกษาศาสตร์วิชาการ
ในหัวข้อเรื่อง การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21