Psychedelic Pointer 2

วันอาทิตย์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2558

Diary No. 5 Tuesday, September 8, 2558.

วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
(science experiences Management for Early childhood)
อาจารย์ผู้สอน  อ. จินตนา  สุขสำราญ
วัน-เดือน-ปี 8-09-2558
เรียนครั้งที่  5  เวลาเรียน 13.30.- 17.30 น.


Story of subject (เนื้อหาที่สอน)

    กิจกรรมประดิษฐ์ของเล่นจากกระดาษที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ 

Know lead (ความรู้ที่ได้รับ)

 อาจารย์แจกกระดาษ 1 แผ่น ให้นักศึกษาประดิษฐ์ของเล่นเป็นอะไรก็ได้ที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ จากนั้นให้นำเสนอเป็นรายบุคคล
      กระดาษ 1 แผ่น นำมาประดิษฐเป็นของเล่นโดยการพับเป็นเรือ สอนเรื่องแรงลอยตัว


ทำไมเรือเหล็กถึงลอยน้ำได้?

การที่วัตถุสามารถลอยตัวอยู่ในน้ำได้  เนื่องจาก วัตถุนั้นมีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำ   
และน้ำก็มีแรงดันวัตถุให้ลอยขึ้นมา    แรงนี้เรียกว่า   “แรงลอยตัวหรือแรงพยุง”    
ซึ่งแรงนี้จะขึ้นอยู่กับปริมาณของน้ำที่ถูกวัตถุนั้นแทนที่    ยิ่งวัตถุมีพื้นที่สัมผัสกับน้ำมากเท่าไหร่   
หรือเข้าไปแทนที่น้ำได้มาก (สังเกตจากปริมาณน้ำในขันหรือชามที่สูงขึ้น)  
ความหนาแน่นของวัตถุจะลดลง   และแรงลอยตัวจะเพิ่มขึ้น   วัตถุจึงลอยตัวในน้ำได้
 ดังนั้นหากแผ่วัตถุให้มีขนาดใหญ่และมีขอบโค้งขึ้นมาคล้ายเรือ  วัตถุนั้นก็จะลอยตัวได้ดี 

ความรู้เพิ่มเติม

- ลม (wind) คือ อากาศที่เคลื่อนที่
- อากาศ (air) คือ สิ่งทีีมองไม่เห็นแต่ มีตัวตน และต้องการที่อยู่ ซึ่งถ้าอากาศเคลื่อนที่จะกลายเป็นลม และลมก็จะทำให้เกิดพลังงาน (energy)
- แสง (light) จะไม่สามารถผ่านวัตุได้ จึงทำให้เกิดเป็นเงา ซึ่งแสงจะเดินทางเป็นเส้นตรง

ทฤษฎีของเพียเจย์ (Piaget)

เด็กเรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 (Sensory - Motor)
1.ขบวนการปรับเข้าสู่โครงสร้าง (Assimilation) หมายถึง การที่เด็กนำเอาความรู้ใหม่ เข้าไปผสมผสากลมกลืนกับครวามรู้เดิมที่มีอยู่
2.การจัดประขยายโครงสร้าง (Accommodation)  หมายถึง การนำความรู้ใหม่ที่ได้รับไปปรับปรุงความคิิดให็เข้ากับสภาพแวดล้อมได้อย่างเหมาะสม

ทฤษฎีของจอห์น ดิวอี้ (John Dewy)
       การจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นการปฏิบัติจริง เด็กจะเรียนรู้โดยการลงมือทำเป็นการเรียนรู้ในแบบ Learning by doing ผู้เรียนจะเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ แนวคิดนี้จะจัดการสอนแบบโครงการ (Project-based learning) เป็นการสอนที่ให้ผู้เรียนได้เรียนจากการปฏิบัติจริง เป็นการเรียนจากประสบการณ์ตรง ผู้เรียนได้ทดลองทำปฏิบัติ เสาะหาข้อมูล จัดระเบียบข้อมูล พิจารณาหาข้อสรุป ค้นคว้าหาวิธีการ กระบวนการด้วยตนเอง หรือร่วมกันเป็นกลุ่ม เน้นให้ผู้เรียนมีอิสระในการศึกษาหาความรู้ตามหลักประชาธิปไตยให้ผู้เรียนได้รู้จักการทำงานร่วมกับผู้อื่น ให้ได้ค้นคว้าหาข้อมูลความรู้จากแหล่งต่าง ๆ มิใช่เฉพาะในห้องเรียนเท่านั้น ทำให้ผู้เรียนเกิดนิสัยการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเองได้ด้วยความมั่นใจ

Skill (ทักษะที่ได้รับ)
        - การวิเคราะห์
        - การตอบคำถาม
        - ความคิดรวมยอด

Adoption( การนำไปใช้)

        ใช้ในการบรูณาการการเรียนการสอนในการจัดเสริมประสบการณ์เด็กปฐมวัย ในการทำสื่อวิทยาศาสตร์จากการนำกระดาษมาประดิษฐ์

Classroom atmosphere (บรรยากาศในห้องเรียน)

        เพื่อนๆให้ความร่วมมือในการตั้งใจฟังคุณครูดีมากแม้ไม่มีโต๊ะในการนั่งเขียน

Self-Assessment (ประเมินตนเอง)

        มาเรียนได้ทันเวลาสอน  เข้าใจเนื่อหาที่คุณครูสอน

Friend-Assessment (ประเมินเพื่อน)

         เพื่อนให้ความร่วมมือในการตอบคำถามทุกคนอาจมีเสียงคุยบ้างเล็กน้อย

Teacher-Assessment (ประเมินครู)

           เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพ  ใช้คำถามในการกระตุ้นผู้เรียน 



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น