Psychedelic Pointer 2

วันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2558

Diary No. 3 Tuesday, August 25, 2558.

วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
(science experiences Management for Early childhood)
อาจารย์ผู้สอน  อ. จินตนา  สุขสำราญ
วัน-เดือน-ปี 25-08-2558
เรียนครั้งที่  3  เวลาเรียน 13.30.- 17.30 น.




สรุปบทความ

หลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัย จำเป็นหรือไม่



    สสวท.  ได้ตั้งคณะทำงาน ซึ่งประกอบไปด้วยผู้ทรงคุณวุฒิของประเทศ อาจารย์มหาวิทยาลัยที่เป็นนักการศึกษาด้านปฐมวัย แพทย์ นักจิตวิทยา และนักวิชาการในสาขาวิทยาศาสตร์ประถมศึกษา สสวท.  มาร่วมวิเคราะห์หลักสูตรปฐมวัยปี พ.ศ.2546  หลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัยของต่างประเทศ และวิเคราะห์มาตรฐานหลักสูตรสาระวิทยาศาสตร์ประถมศึกษา จากนั้นได้ร่วมกันจัดทำกรอบมาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัยเพื่อเป็นแนวทางให้ครูในการจัดการเรียนรู้บูรณาการวิทยาศาสตร์ปฐมวัยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 เมื่อเสร็จแล้วได้นำกรอบมาตรฐานนี้ไปทำประชาพิจารณ์ทั่วประเทศ โดยเชิญผู้รับผิดชอบในการจัดการศึกษาปฐมวัยทุกภาค ส่วนร่วมประชุมพิจารณ์หลักสูตรกรอบมาตรฐานหลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัย ในปี พ.ศ. 2551 “การเรียนวิทยาศาสตร์ในชั้นปฐมวัยนั้น    ไม่ได้มุ่งเน้นให้เด็กเรียนรู้เกี่ยวกับเนื้อหา  แต่มุ่งเน้นให้เด็กเรียนรู้เรื่องกระบวนการเรียนรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์  ซึ่งประกอบไปด้วยการสังเกตสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว การตั้งคำถาม การหาวิธีที่จะตอบคำถาม โดยใช้ทักษะการสังเกตตามวัยของเด็ก  เมื่อเด็กได้พัฒนาทักษะในการสืบเสาะหาความรู้อย่างง่าย ๆ ตามวัยของเขา ก็จะทำให้เขามีเครื่องมือสำคัญที่จะแก้ปัญหาในอนาคตของตัวเองได้ เพราะเด็กจะเรียนรู้การแก้ปัญหาอย่างมีเหตุมีผล และได้พัฒนาทักษะในการสังเกต เก็บรวบรวมข้อมูล สามารถที่จะเรียนรู้จากสิ่งรอบ ๆ ตัวได้ ถือว่าเป็นพื้นฐานสำหรับชีวิตของเด็ก ๆ ในการเรียนรู้ต่อไป” เนื่องจากกระทรวงศึกษาธิการได้แบ่งมาตรฐานหลักสูตรวิทยาศาสตร์ประถมศึกษาเป็น 8 สาระ สสวท. จึงจัดทำมาตรฐานหลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัยให้สอดคล้องกับทั้ง 8 สาระ    สอดคล้องกับหลักสูตรปฐมวัย พ.ศ. 2546 ของกระทรวงศึกษาธิการ และสอดคล้องกับหลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัยของต่างประเทศ ผลจากการติดตามการทดลองใช้ พบว่าครูสามารถที่จะนำกรอบมาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย ไปจัดกิจกรรมบูรณาการวิทยาศาสตร์ในทุกสาระที่ควรรู้ได้ในทุกสาระโดยสอดแทรกเข้าไปในทุกกิจกรรมหลักที่ครูจัดอย่างสม่ำเสมอได้ แต่สิ่งที่ครูยังมีความต้องการนั้น ครูยังต้องการตัวอย่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เยอะ ๆ ซึ่ง สสวท. กำลังพัฒนาส่วนนี้อยู่
“เราได้ทดลองแล้ว พบว่ากรอบมาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัยนั้นตอบโจทย์ครูได้ว่า ในการสอนบูรณาการวิทยาศาสตร์ ครูจะสอนอะไร จะสอนแค่ไหน จะสอนอย่างไร และจะใช้สื่อรอบ ๆ ตัวเด็กนั้นมาเป็นสื่อในการเรียนรู้อย่างไร เพราะฉะนั้นคุณครูมีแนวทางสามารถที่จะจัดการเรียนรู้บูรณาการวิทยาศาสตร์ปฐมวัยได้แน่นอน”  อ. ชุติมา กล่าว หลังจากนั้นได้จัดอบรมครูทั่วประเทศ ต่อจากนี้จะจัดอบรมให้แก่ศึกษานิเทศก์ทั่วประเทศเขตพื้นที่ละหนึ่งคน เพื่อที่จะให้ศึกษานิเทศก์ได้เป็นผู้ที่คอยให้คำแนะนำช่วยเหลือแก่ครู การดำเนินงานเกี่ยวกับหลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัยในอนาคต  สสวท. จัดทำคู่มือการใช้หลักสูตรเสร็จแล้ว ก็คือการชักชวนพันธมิตร เช่น ภาควิชาปฐมวัยของมหาวิทยาลัยราชภัฏซึ่งมีอยู่ทั่วทุกประเทศ เป็นศูนย์การอบรมครูปฐมวัย  และในขณะเดียวกัน สสวท. และคณะที่เป็นนักการศึกษาปฐมวัยที่เป็นผู้เริ่มต้นโครงการนี้ก็จะถอยมาเป็นผู้อบรมวิทยากรอีกทีหนึ่ง
“ทุกประเทศในโลกจะสอนปฐมวัยในเชิงบูรณาการ ก็คือจะบูรณาการทุกวิชาไว้ด้วยกัน  เพราะถือว่าเด็กจะต้องพัฒนาเป็นองค์รวม  แต่การที่ครูจะจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการพัฒนาเด็กเป็นองค์รวมนั้น จะต้องมีมาตรฐานเป็นที่ตั้งในของแต่ละสาระ เช่น คณิตศาสตร์ควรจะเรียนแค่ไหน วิทยาศาสตร์ควรจะเรียนแค่ไหน ครูก็จะยึดเอากรอบมาตรฐานมาจัดทำเป็นหลักสูตรบูรณาการปฐมวัยของตัวเอง ทุกประเทศจะเป็นแบบนี้ รวมทั้งประเทศเราด้วย”   อ. ชุติมากล่าวทิ้งท้าย


วันเสาร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2558

Diary No. 2 Tuesday, August 18, 2558.

วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
(science experiences Management for Early childhood)
อาจารย์ผู้สอน  อ. จินตนา  สุขสำราญ
วัน-เดือน-ปี 18-08-2558
เรียนครั้งที่  1  เวลาเรียน 13.30.- 17.30 น.


Story of subject (เนื้อหาที่สอน)

     พัฒนาการทางด้านสติปัญญา (Cognitlre derelopment)

Know lead (ความรู้ที่ได้รับ)

ความหมาย ความเจริญงอกงามด้านความสามารถทางภาษาและการคิดของแต่ละบุคคลพัฒนาขึ้นมาจากการมีปฎิสัมพันธ์ (interaction) กับสิ่งแวดล้อม
- เริ่มตั้งแต่เเรกเกิด ผลของการปฎิสัมพันธ์จะทำให้รุ้จักตัวตน (self) เพราะตอนเเรกเกิดยังไม่สามารถแยกตน ออกจากสิ่งแวดล้อมได้
-  การปฎิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับสิ่งแวดล้อมเป็นกระบวนการต่อเนื่องตลอดเวลาและตลอดชีวิตทั้งนี้เพื่อให้เกิดความสมดุล (eqilibricm)
-  กระบวนการดูดซึม (asslimilation)
-  กระบวนการปรับโครงสร้าง (accommodation)
-  การปรับเข้าสู่ภาวะสมดุล
-  การดูดซึมเพื่อรับประสบการณ์ใหม่
-  การปรับโครงสร้างเป็นการปรับโครงสร้างความคิดเดิมให้สอดคล้องเหมาะสมกับประสบการณ์ใหม่ที่ได้รับมา
-  การปรับแนวคิดเเละพฤติกรรมจะทำให้เกิดภาวะสมดุล

สรุป  สติปัญญาเกิดจากการปรับแนวคิดและพฤติกรรมจนเข้าสู่สภาวะสมดุล

Skill (ทักษะที่ได้รับ)

  ได้ร่วมการคิดวิเคราะห์ในการตอบคำถามจากคุณครูร่วมกับผู้อื่น

Adoption( การนำไปใช้)

    ใช้ในการบูรณาการการเรียนรู้ของเด็กชั้นปฐมวัยได้


Classroom atmosphere (บรรยากาศในห้องเรียน)

       เพื่อนๆให้ความร่วมมือในการตั้งใจฟังคุณครูดีมากแม้ไม่มีโต๊ะในการนั่งเขียน

Self-Assessment (ประเมินตนเอง)

        มาได้ทันเวลาสอนเข้าใจเนื่อหาที่คุณครูสอน

Friend-Assessment (ประเมินเพื่อน)

       เพื่อนให้ความร่วมมือในการตอบคำถามทุกคนอาจมีเสียงคุยบ้างเล็กน้อย

Teacher-Assessment (ประเมินครู)

       คุณครูเเต่งกายสุภาพเรียบร้อยและสอนเข้าใจเนื้อหา ควรมีเอกสารประกอบการเรียนเพื่อให้นักศึกษาเข้าใจเนื้อหาวิชามากขึ้น


Diary No. 1 Tuesday, August 11, 2558.

วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
(science experiences Management for Early childhood)
อาจารย์ผู้สอน  อ. จินตนา  สุขสำราญ
วัน-เดือน-ปี 11-08-2558
เรียนครั้งที่  1  เวลาเรียน 13.30.- 17.30 น.



Story of subject (เนื้อหาที่สอน)

คุณครูบอกถึงเนื้อหารายวิชา เเละบอกข้อตกลงในรายวิชาเรียน

การจัดประสบการณ์วิชาวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

Know lead (ความรู้ที่ได้รับ)

คุณสมบัติของบัณฑิต 6 ด้าน

  1. ความรู้
  2. คุณธรรม
  3. ทักษะทางปัญญา
  4. เทคโนโลยี
  5. ความสัมพันธ์ทักษะทางสังคม
  6. การจัดการเรียนรู้


สาระสำคัญ 4 ด้าน ทางวิทยาศาสตร์

1.  เกี่ยวกับตัวเด็ก
2.  บุคคลเเละสถานที่เเวดล้อม
3.  สิ่งต่างๆรอบตัว
4.  ธรรมชาติครอบครัว

ทักษะทางวิทยาศาสตร์

  ทักษะการสังเกต การสื่อความหมาย

การจัดประสบการณ์

  •   หลักการจัดประสบการณ์
  •   เทคนิคการจัดประสบการณ์
  •   กระบวนการจัดประสบการณ์
  •   ทฤษฎีการจัดประสบการณ์
  •   สื่อและสภาพแวดล้อมสนับสนุนการจัดประสบการณ์
  •   การประเมิน


Skill (ทักษะที่ได้รับ)

  ได้ร่วมการคิดวิเคราะห์ในการตอบคำถามจากคุณครูร่วมกับผู้อื่น

Adoption( การนำไปใช้)

    ใช้ในการบูรณาการการเรียนรู้ของเด็กชั้นปฐมวัยได้


Classroom atmosphere (บรรยากาศในห้องเรียน)

       เพื่อนๆตั้งใจฟังคุณครูสอน

Self-Assessment (ประเมินตนเอง)

        เข้าใจเนื่อหาที่คุณครูสอน

Friend-Assessment (ประเมินเพื่อน)

       เพื่อนให้ความร่วมมือในการตอบคำถามทุกคนอาจมีเสียงคุยบ้างเล็กน้อย

Teacher-Assessment (ประเมินครู)

       เเต่งกายสุภาพเรียบร้อยสอนเข้าใจ มาก่อนเวลาสอน